ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ ในช่วงสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ธันวา แผนสท้าน มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ชลิตา ศรีนวล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

ความเต็มใจจ่าย, อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ , สถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19, คลื่นความถี่ที่อนุญาตให้การใช้งานเป็นการทั่วไป, การถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ

บทคัดย่อ

     ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่เป็นบริการที่มีความต้องการใช้งานเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย ในรูปแบบของการเชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi งานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ในช่วงสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 สำรวจกลุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย และวิเคราะห์โดยใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นตรงแบบพหุคูณซึ่งมีปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ ลักษณะทางประชากรศาสตร์ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และการเปลี่ยนแปลงการใช้อินเทอร์เน็ต
จากสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า 3 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ความเต็มใจจ่ายสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของความเต็มใจจ่ายแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ต่อสังคมที่เพิ่มขึ้นของบริการซึ่งให้บริการผ่านคลื่นความถี่ที่มีการอนุญาตให้ใช้งานเป็นการทั่วไปโดยเฉพาะประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลควรส่งเสริมการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการกำกับดูแลอัตราค่าบริการ ในขณะเดียวกันการติดตามและพิจารณาการใช้งานคลื่นความถี่ที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไปเพิ่มขึ้น จะช่วยรองรับการใช้งานของผู้บริโภคได้ดีขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19): มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

ธันวา แผนสท้าน. (2563). พฤติกรรมเอนเอียงในการเลือกใช้รูปแบบอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ระหว่างระบบรายเดือนกับระบบเติมเงินในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์, 27(1), 127-156.

ธันวา แผนสท้าน. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้ง่ายเน็ตประชารัฐในปีที่มีการแผ่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(4), 124-141.

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมที่อนุญาตให้มีการใช้งานเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562. (2562, 26 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 315 ง. หน้า 4-5.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2564). ศูนย์ข้อมูลกลาง ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมโทรคมนาคม. http://ttid.nbtc.go.th/

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2563 (รายงานการวิจัย). สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สรุปผลที่สำคัญ: สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2563. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). ข้อมูลสถิติที่สำคัญ. ข้อมูลสถิติที่สำคัญระดับประเทศ ภาคและจังหวัด. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/th/index.aspx

Dutz, M. A., Orszag, J. M., & Willig, R. D. (2012). The Lift off of Consumer Benefits from the Broadband Revolution. Review of Network Economics, 11(4), 1-34.

Galperin, H., & Ruzzier, C. A. (2013). Price Elasticity of Demand for Broadband: Evidence from Latin America and the Caribbean. Telecommunications Policy, 37(6-7), 429-438.

Google. (n.d.). Help Center. Fix a Problem: Watch Video. https://support.google.com/youtube/ answer/78358?hl=en

Katz, R. (2009). Estimating Broadband Demand and Its Economics Impact in Latin America. In Proceedings of the 3rd ACORN-REDECOM. Mexico City.

Robitzsch, A. (2020). Why Ordinal Variables Can (Almost) Always Be Treated as Continuous Variables: Clarifying Assumptiions of Robust Continuous and Ordinal Factor Analysis Estimation Methods. Frontiers in Education. https://doi.org/10.3389/feduc.2020.589965

Sudtasan, T., & Mitomo, H. (2016). Effects of OTT Services on Consumer's Willingness to Pay for Optical Fiber Braodband Connection in Thailand. In 27th European Regional Conference of the International Telecommunications Society (ITS): "The Evolution of the North-South Telecommunications Divide: The Role for Europe". International Telecommunications Society (ITS)

Thailand Board of Investment. (2020). Thailand Investment Review: Smart Electromics, The Foundation of Smart Industries. Thailand Board of Investment.

Varian, H. R. (2014). Intermediate Microeconomics: A Modern Approach. W. W. Norton & Company.

Wi-Fi Alliance. (2021). The Economic Value of Wi-Fi: a Global View (2021-2025). Wi-Fi Alliance.

Wi-Fi Alliance. (2022). Press Releases. Wi-Fi Alliance® 2022 Wi-Fi® trends. https://www.wi-fi.org/news-events/newsroom/wi-fi-alliance-2022-wi-fi-trends

World Health Organization. (2021). WHO Thailand Situation Report. World Health Organization. Retrieved from https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2021_01_12_tha-sitrep-122-covid19.pdf?sfvrsn=6a1bb73d_16

Downloads

เผยแพร่แล้ว

25-11-2022

How to Cite

แผนสท้าน ธ. ., & ศรีนวล ช. (2022). ปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายเพื่อใช้บริการอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ประจำที่ ในช่วงสถานการณ์การระบาดใหญ่ของโควิด-19. วารสารกิจการสื่อสารดิจิทัล, 6(6), 177–197. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBTC_Journal/article/view/256694

ฉบับ

บท

บทความวิจัย