Information For Authors

หลักเกณฑ์การเขียนต้นฉบับเพื่อพิมพ์ในวารสารนโยบายสาธารณะและกิจการสาธารณะ

เวลาเผยแพร่    วารสารเผยแพร่เป็นประจำทุกปีๆ ละ 2 ฉบับ โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือ
ฉบับที่ 1: มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่ 2: กรกฎาคม-ธันวาคม

สถานที่ติดต่อ    สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9/9 หมู่ 9 ต.บางพูด
อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

เจ้าของวารสาร สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การเตรียมต้นฉบับ

  1. ต้นฉบับของบทความมีความยาวรวมบทคัดย่อ เนื้อหา และการอ้างอิงไม่เกิน 15 หน้า A4, ระยะกั้นหน้าด้านขวา 1.5 นิ้ว ส่วนด้านอื่นๆ 1 นิ้ว
  • กรณีของบทความภาษาไทยให้ใช้ตัวอักษรแบบ Thai Sarabun New ขนาด 16 pt. ระยะ 1 บรรทัด (single space)
  • บทความภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวอักษรแบบ Times New Roman ขนาด 12 pt. ระยะ 2 บรรทัด (double space)
  1. ชื่อบทความ ภาษาไทยและอังกฤษ
  2. ชื่อผู้เขียนบทความ ระบุตำแหน่งวิชาการ ตำแหน่งงาน สถานที่ทำงาน หรือสถาบันการศึกษาที่ศึกษาอยู่ในอ้างอิงท้ายหน้า(ถ้ามี) อีเมลล์ (footnote) (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ)
  3. บทคัดย่อ ภาษาไทยและอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ พร้อมระบุคำสำคัญ (keywords) จำนวน 3-5 คำ
  4. เนื้อหาของบทความ ประกอบด้วย บทนำ วัตถุประสงค์ ทฤษฎีและกรอบแนวคิดการวิจัย สมมติฐาน (ถ้ามี) วิธีการวิจัย ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และการอ้างอิง ทั้งนี้สามารถปรับหัวข้อตามประเภทของบทความตามความเหมาะสม
  5. การอ้างอิงในบทความ ใช้แบบ APA 6thedition

บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร

  1. เป็นบทความด้านรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ กิจการสาธารณะ และประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยต้องเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อนหรือไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นในช่วงเวลาเดียวกัน
  2. บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ แบ่งออกเป็น (1) บทความวิจัย (research articles) ซึ่งเป็นการเสนอผลการวิจัยที่ผู้เขียนดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความน่าเชื่อถือ และนำเสนอประเด็นที่ไม่ซ้ำซ้อนกับบทความที่เคยตีพิมพ์แล้ว (2) บทความปริทรรศน์ (review articles) เป็นบทความที่มีการเปรียบเทียบ วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ในประเด็นที่น่าสนใจด้านรัฐประศาสนศาสตร์ นโยบายสาธารณะ กิจการสาธารณะ และประเด็นทางสังคมศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนโยบายสาธารณะและกิจการสาธารณะจะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิในลักษณะผู้พิจารณาไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งไม่ทราบชื่อผู้พิจารณา (Double-blind peer review) ทั้งนี้บทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน
  4. เนื้อหาของบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารนโยบายสาธารณะและกิจการสาธารณะเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหรือเห็นด้วย
  5. ผู้ที่สนใจต้องส่งบทความบนระบบออนไลน์ของวารสารนโยบายสาธารณะและกิจการสาธารณะ https://so04.tci-thaijo.org/index.php/PPPA

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม

การอ้างอิง

            วารสารกำหนดให้บทความใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี โดยสามารถวางการอ้างอิงอยู่หน้าข้อความ หรือท้ายข้อความได้ตามความเหมาะสม โดยมีตัวอย่างดังนี้

 

การอ้างอิงในเนื้อหาหน้าข้อความ

การอ้างอิงในเนื้อหา(ท้ายข้อความ)

ผู้แต่งคนเดียว

ชื่อ-สกุล (ปีที่พิมพ์, หน้า ) / Surname (year, pp.)

(ชื่อ-สกุล, ปีที่พิมพ์, หน้า )/ (Surname, year, pp.)

พิทยา บวรวัฒนา (2558, หน้า 30)

(พิทยา บวรวัฒนา, 2558, หน้า 30)

Weber (1963, p. 35)

(Weber, 1963, p. 35)

ผู้แต่ง 2 คน

ชื่อ-สกุล1 และชื่อ-สกุล2 (ปีที่พิมพ์, หน้า)
Surname1 and Surname2 (year, pp.)

(ชื่อ-สกุล1 และชื่อ-สกุล2, ปีที่พิมพ์, หน้า)
(Surname1 and Surname2, year, pp.)

นันทกา อดิเรกสมบัติ และกมลทิพย์ สินอ่ำ (2543, หน้า 20-25)

(นันทกา อดิเรกสมบัติ และกมลทิพย์ สินอ่ำ, 2543, หน้า 20-25)

Guth and Marsh (2005, pp. 110-120)

(Guth and Marsh, 2005, pp. 110-120)

ผู้แต่ง 3 คน หรือมากกว่า

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

  ชื่อ-สกุล1, ชื่อ-สกุล2, และชื่อ-สกุล3 (ปีที่พิมพ์, หน้า)

  Surname1, Surname2, and Surname3 (year, pp.)

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

  ชื่อ-สกุล1 และคณะ (ปีที่พิมพ์, หน้า)
  Surname1 et al. (year, pp.)

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

  (ชื่อ-สกุล1, ชื่อ-สกุล2, และชื่อ-สกุล3, ปีที่พิมพ์, หน้า)

  (Surname1, Surname2, and Surname2, year, pp.)

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

  (ชื่อ-สกุล1, และคณะ, ปีที่พิมพ์, หน้า)
  (Surname1 et al., year, pp.)

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

   จุฑามาศ แก้วพิจิตร, วิชัย อุตสาหจิต, และสมบัติ กุสุมาวลี. (2554)

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

   (จุฑามาศ แก้วพิจิตร, วิชัย อุตสาหจิต, และสมบัติ กุสุมาวลี, 2554)

   Greer, Hedlund, and Gibson (1978)

(Greer, Hedlund, & Gibson, 1978)

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

    จุฑามาศ แก้วพิจิตร และคณะ (2554)

    Greer, Hedlund, and Gibson (1978)

 

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

    (จุฑามาศ แก้วพิจิตร, และคณะ, 2554)

    (Greer et al., 1978)

ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน ใช้ชื่อย่อ

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

   กระทรวงศึกษาธิการ (2554)

กรณีการอ้างอิงครั้งแรกในบทความ

   (กระทรวงศึกษาธิการ, 2554)

    National Aeronautics and Space Administration (2015)

   (National Aeronautics and Space Administration, 2015)

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

    ศธ (2554)

    NASA (1978)

กรณีการอ้างอิงครั้งต่อมาในบทความ

    (ศธ, 2554)

    (NASA, 1978)

ผู้แต่งมีบรรดาศักดิ์หรือยศ

คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2524)

(คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว., 2524)

งานที่อ้างอิงไม่มีชื่อผู้แต่งหรือชื่อบรรณาธิการ ให้ลงชื่อเรื่องแทนชื่อผู้แต่ง

การบริหารงานภาครัฐ, (2554)

(การบริหารงานภาครัฐ, 2554)

หมายเหตุ:

  1. 1. ถ้าไม่มีปีที่พิมพ์ ใช้คำว่า ม.ป.ป. หรือ n.d.
  2. 2. ชื่อผู้แต่งภาษาต่างประเทศที่ปรากฏในบทความให้ใช้ชื่อภาษาต่างประเทศทั้งหมด
  3. 3. ชื่อคนไทยที่เขียนบทความเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ระบุเฉพาะนามสกุลเท่านั้น
  4. 4. กรณีการอ้างแหล่งข้อมูลในระดับทุติยภูมิ ต้องระบุการอ้างอิงโดยใช้คำว่า “อ้างใน” ส่วนกรณีเอกสารภาษาอังกฤษ ใช้ “cited in”
  5. 5. การอ้างอิงจากการสื่อสารส่วนบุคคลอย่างไม่เป็นทางการ เช่น อีเมลล์ โทรศัพท์ จดหมายส่วนตัว กับแหล่งข้อมูล ให้อ้างอิงดังนี้

                     ผกาวดี สุพรรณจิตวนา (การสื่อสารส่วนบุคคล, 20 กันยายน 2558)

                     (ผกาวดี สุพรรณจิตวนา, การสื่อสารส่วนบุคคล, 20 กันยายน 2558)

                     Park (personal communication, September 10, 2015)

                     (Park, personal communication, September 10, 2015)

 

 

 

บรรณานุกรม

1)    หนังสือ

หนังสือฉบับตีพิมพ์

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ).//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

        กรณีหนังสือที่สืบค้นได้จากระบบออนไลน์ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงโดยเปลี่ยนสถานที่พิมพ์และสำนักพิมพ์เป็น “สืบค้นจาก http://xxx.” หรือ Retrieved from http://xxx. หรือ ระบุเลข doi ดังนี้

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).//สืบค้นจาก http://xxxxx.

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ครั้งที่พิมพ์).// /doi:xx.xxxx/xxx.xx.

ตัวอย่าง

ผู้เขียน 1 คน

พิทยา บวรวัฒนา.  (2544).  การปฏิรูประบบราชการของต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ.

Kuhn, T.S. (1970). The Structure of Scientific Revolutions. Chicago: University of Chicago Press.

ผู้เขียน 2 คน

นันทกา อดิเรกสมบัติ และกมลทิพย์ สินอ่ำ.  (2543).  Amazing 5S (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

Denhardt, B. R., & Denhardt, V. J. (2011). The New Public Service: Serving Rather than Steering. Armonk, NY: M.E. Sharpe.

ผู้เขียน 3 คน

นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, และชลัช ชรัญญ์ชัย. (2556). การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Greer, Scott., Hedlund, Ronald D., and Gibson, James L..  (1978).   Accountability in Urban Society: Public Agencies under Fire.  Beverly Hills: Sage Publications.

 

 

 

2)    บทความในหนังสือฉบับพิมพ์

 

            ชื่อผู้เขียนบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ใน/ชื่อสกุล/(บรรณาธิการ),//ชื่อหนังสือ/
(ครั้งที่พิมพ์ หน้า). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

กาญจนา บุญยัง.  (2562).  ชาวนาฆ่าตัวตาย: รัฐ โครงสร้างเศรษฐกิจและความรุนแรง. ใน จันจิรา สมบัติพูนศิริ และประจักษ์ ก้องกีรติ (บรรณาธิการ), ระหว่างปริศนาและศรัทธา: ชัยวัฒน์
สถาอานันท์ กับการเมืองมนุษย์ในศตวรรษที่
21 (99-127).  กรุงเทพฯ: ศยามปัญญา.

 

3)    หนังสือแปล

       

        นามสกุล, ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/[ชื่อหนังสือภาษาต่างประเทศ]/(ครั้งที่พิมพ์)/(ชื่อผู้แปล,/ผู้แปล).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

เมเยอร์, เบอร์นาร์ด.  (2553).  พลวัตการจัดการความขัดแย้ง [The Dynamics of Conflict Resolution] (บรรพต ต้นธีรวงศ์, ผู้แปล).  กรุงเทพฯ: คบไฟ.

 

4)    รายงานการวิจัย

       

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อรายงาน/(รายงานลำดับที่ xx).//สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

        กรณีรายงานการวิจัยที่สืบค้นได้จากระบบออนไลน์ให้ใช้รูปแบบการอ้างอิงโดยเปลี่ยนสถานที่พิมพ์และสำนักพิมพ์เป็น “สืบค้นจาก http://xxx.” หรือ Retrieved from http://xxx. ดังนี้

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(รายงานลำดับที่ xx).//สืบค้นจาก http://xxxxx.

ตัวอย่าง

นราธิป ศรีราม, กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, และชลัช ชรัญญ์ชัย.  (2556).  การสังเคราะห์แนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ (รายงานการวิจัย).  นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

 

5)    บทความในวารสาร/นิตยสาร และวารสารออนไลน์

บทความจากเล่มวารสาร/นิตยสาร

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้า.

 

 

บทความจากวารสารออนไลน์

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้า./doi:xx.xxxx/xxx.xx

หรือ

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/หน้า./สืบค้นจาก/http:xxxxx.

หมายเหตุ:  (1) กรณีบทความภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำว่า Retrieved from แทนคำว่า สืบค้นจาก

              (2) การค้นบทความวารสารในระบบออนไลน์ ไม่ต้องระบุวันที่สืบค้น

ตัวอย่าง

อัมพร ธำรงลักษณ์. (2559). สถานภาพของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย (ระหว่าง พ.ศ. 2540-ปัจจุบัน). วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 8(1), 35-70. สืบค้นจาก http://www.polsci-law.buu.ac.th/journal/document/8-1/1.pdf.

 

6)    บทความในหนังสือพิมพ์

       

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์, เดือน วัน).//ชื่อข่าว.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/หน้า.

ตัวอย่าง

เกษียร เตชะพีระ.  (2556, กุมภาพันธ์ 9).  บทความ (ที่ไม่จบ?).  มติชน, 6.

 

7)    บทความจากที่ประชุมวิชาการที่มีการตีพิมพ์

 

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ./ใน/ชื่อสกุล/(บรรณาธิการ),/ชื่อการประชุม (หน้า). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

ไพฑูรย์ สินลารัตน์.  (2549).  การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน.  ใน กนกวรรณ สินสุข (บรรณาธิการ), รายงานการสัมมนาเรื่องการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ (หน้า 12-19). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

8)    บทความจากที่ประชุมวิชาการที่ไม่มีการตีพิมพ์

 

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่ประชุม, เดือน).//ชื่อบทความ./เอกสารนำเสนอในที่ประชุม..., สถานที่จัด.

ตัวอย่าง

เทียนแก้ว เลี่ยมสุวรรณ.  (2556, พฤศจิกายน).  การเปลี่ยนแปลงประชากรในอาเซียน: การก้าวเข้าสู่ภูมิภาคผู้สูงอายุ.  เอกสารนำเสนอในที่ประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 14 วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2556, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

 

หมายเหตุ:  (Unpublished paper or poster session presented at meeting) ให้ระบุว่า “เอกสารนำเสนอในที่ประชุม” หรือ Paper presented at the meeting of….
“โปสเตอร์นำเสนอในที่ประชุม” หรือ Poster session presented at…..
โดยต้องระบุ วัน เดือน ปีที่นำเสนอด้วย

 

9)    วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ที่ตีพิมพ์

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์).//ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย,/สถานที่พิมพ์.

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์ (ดุษฎีนิพนธ์).//ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย,/สถานที่พิมพ์.

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ที่สืบค้นผ่านระบบออนไลน์

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์).//ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย,/สืบค้นจากhttp://xxxx.

วิทยานิพนธ์/ดุษฎีนิพนธ์ที่ไม่มีการตีพิมพ์

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อวิทยานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์).//ชื่อสาขา คณะ มหาวิทยาลัย,/สถานที่พิมพ์.

หมายเหตุ: กรณีภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Master’s thesis แทนคำว่า วิทยานิพนธ์ และ Doctoral dissertation แทนคำว่า ดุษฎีนิพนธ์

ตัวอย่าง

วัชรพล พุทธรักษา. (2549). รัฐบาลทักษิณกับความพยายามสร้างภาวการณ์ครองอำนาจนำ. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐศาสตร์มหาบัณฑิต), สาขาวิชาการปกครอง ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

10)บทสัมภาษณ์

 

        ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์.//(ปีที่พิมพ์, วัน เดือน).//ตำแหน่ง/[บทสัมภาษณ์].

ตัวอย่าง

ผกาวดี สุพรรณจิตวนา.  (2558, 10 ตุลาคม), ที่ปรึกษามูลนิธิสถาบันสถาบันศึกษาและพัฒนาการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี [บทสัมภาษณ์].

 

11) สื่ออิเล็กทรอนิกส์

กรณีมีชื่อผู้แต่ง: 

        ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์, วัน เดือน).//ชื่อบทความ./ชื่อเวบไซต์,/หน้า./สืบค้นจาก http://  .

กรณีไม่มีชื่อผู้แต่งและระบุวันสืบค้น: 

        ชื่อบทความ.//(ปีที่พิมพ์).//Retrieved/วันที่ค้นบทความ/เดือน/วัน,/ปี,/จาก/ชื่อเวบไซต์/http:// .

ตัวอย่าง

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2559). “ทำไมระบอบเผด็จการจึงประสบความสำเร็จในสังคมไทย” งานวิจัยชิ้นใหม่ของประจักษ์ ก้องกีรติ. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2560, จากhttp://themomentum.co/momentum-feature-dictatorship-prajak.

ประชุม กรธ.นัดแรกวางกรอบเน้น “แก้ทุจริต-ปรองดอง.” (2558).  สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 7, 2558,
จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444175490.

 

----------------------------------

บรรณานุกรม

นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์.  (2558).  การอ้างอิงและการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงตามแบบ APA
(พิมพ์ครั้งที่ 6).  กรุงเทพฯ: สุโขทัยธรรมาธิราช.