การผสมผสานความเชื่อเรื่องผี เทวดา และพุทธศาสนาในพิธีจุลกฐินของชาวไทยวน ชุมชนวัดบ้านทัพ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาการผสมผสานความเชื่อเรื่อง ผี เทวดา และพุทธศาสนา ในพิธีจุลกฐินของชาวไทยวน ชุมชนวัดบ้านทัพ ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ในพิธีจุลกฐินของชาวไทยวนสะท้อนให้เห็นถึงระบบความเชื่อเรื่องผี เทวดา อันเป็นความเชื่อของชาวไทยวนในชุมชนวัดบ้านทัพที่ผสมผสานกับความเชื่อด้านพุทธศาสนาได้อย่างกลมกลืน โดยมีการจัดพื้นที่ประกอบพิธีจุลกฐิน และใช้พื้นที่สัญลักษณ์แสดงความเชื่อเรื่องเทวดาผู้เป็นใหญ่ ท้าวจตุโลกบาล พระแม่ธรณี ผีประจำวัด และผีบรรพบุรุษ ไว้ในเขตมณฑลพิธีทางพุทธศาสนา โดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้มีหน้าที่คอยปกป้องคุ้มครองลูกหลานและขั้นตอนการประกอบพิธีจุลกฐินอันเป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารไทยศึกษาอยู่ภายใต้การอนุญาต Creative Commons Attribution-Noncommercial-NoDerivatives4.0 Intenational (CC BY-NC-ND 4.0) เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น โปรดอ่านหน้านโยบายของเราสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าถึงแบบเปิด ลิขสิทธิ์ และการอนุญาต
References
กรมศิลปากร. ประชุมพงศาวดาร เล่ม ๑ (ภาคที่ ๑ และภาคที่ ๒). พระนคร: สำนักพิมพ์ก้าวหน้า, ๒๕๐๖.
ทรงพันธ์ วรรณมาศ. “ธรณีเจ้าที่.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๖. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
บุปผา คุณยศยิ่ง. “แม่แจ่ม, อำเภอ.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๑๐. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๑๓๓๕.
ประคอง นิมมานเหมินท์. “จตุโลกบาล.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่ม ๓ กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
พระครูปลัดพิศิษฐ์ เมตตจิตโต (พลชานวพงศ์). ศึกษาวิเคราะห์พิธีจุลกฐินของชาวพุทธล้านนา : กรณีศึกษาวัดอนาลโยทิพยาราม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์ปริญญา. พุทธศาสตรบัณฑิตสาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
มณี พยอมยงค์. ประเพณี ๑๒ เดือนล้านนาไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๕. เชียงใหม่ : ทรัพย์การพิมพ์, ๒๕๔๗.
มณี พยอมยงค์. “รั้วราชวัต.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๑๑. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
มณี พยอมยงค์. วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, ๒๕๒๙.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
อุดม รุ่งเรืองศรี. “ขึ้นท้าวทังสี่.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๒. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
อุดม รุ่งเรืองศรี และ เกื้อพันธุ์ นาคบุปผา. “ท้าวทังสี่.” สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม ๖. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์, ๒๕๔๒.
Durkheim, Emile. The Elementary Form of Religious Life. New York Color Books, 1917.
https://th.wikipedia.org/wiki . อำเภอแม่แจ่ม. สืบค้นวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๙.
Merton, Robert M. Social Theory and Social. New York: The Free Press of Glenche,