บทบาทการร่วมมือของทีมเก็บรังนกเกาะลิบง กรณีศึกษาปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย ในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของทีมเก็บรังนกเกาะลิบงในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในถ้ำหลวง–ขุนน้ำนางนอน (2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขการนำไปสู่การร่วมมือของทีมเก็บรังนกเกาะลิบงในภารกิจนั้น โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ สมาชิกทีมเก็บรังนกเกาะลิบง และชาวบ้านในพื้นที่ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่และตีความหมายข้อมูลแล้วสร้างข้อสรุปขึ้น โดยนำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าลักษณะของการร่วมมือของทีมเก็บรังนกเกาะลิบง เป็นความร่วมมือที่ต้องการปฏิบัติงานที่เห็นพ้องต้องกัน เป็นการรวมทีมที่มีจุดหมายเดียวกัน มีจิตอาสา และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสนับสนุน โดยการมีส่วนร่วมในภารกิจนี้เกิดจากการรับรู้ จากทางการและสื่อสารมวลชล โดยมีผู้นำในชุมชนที่กระตุ้นผลักดันให้เกิดความร่วมมือ รวมทั้งจากการสนับสนุนของชาวบ้านและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
Article Details
References
ธิดาชนก วงค์พิทักษ์. (2556). ปัจจัยจิตสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของนิสิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัฐพงศ์ บุญญนุวัตร. (2562). ถอดบทเรียน 13 หมูป่าอะคาเดมีวัตรปฏิบัติแห่งการป้องกันแก้ไขเมื่อภัยมา.
สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2563, จาก https://www.matichon.co.th/news-
monitor/news_1534402.
สุรางคนา ณ นคร. (2551). การสื่อสารเพื่อการเชื่อมร้อยจิตสำนึกสาธารณะขององค์กรภาคธุรกิจกับภาค
ประชาชน. ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ : เปิดขอบฟ้าคุณธรรม จริยธรรม. ศูนย์ส่งเสริม
และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม (ศูนย์คุณธรรม). กรุงเทพฯ: เชน ปริ้นติ้ง.
อนุ เจริญวงศ์ระยับ. (2552). การรับรู้สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาและลักษณะส่วนบุคคลที่เอื้อต่อการ
เป็นอาสาสมัครอย่างยั่งยืนในนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Agranoff, Robert. (2006). Inside Collaborative Networks: Ten Lessons for Public Managers
[Special issues]. Public Administrative Review. 66(6), 56-65.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participations place in rural development: Seeking clarity
through specificity. New York: World Developments.
Weiss, Janet. 1987. Cite in Ricardo S. Morse. (2005). Facilitating Interlocal Collaboration:
Community and the Soft Skills of Public Management. Paper prepared for the 8th
National Public Management Research Conference, hosted by the University of
Southern California, September 29 to October 1, 2005. Accessed December 5, 2011
from http://localgov.fsu.edu.
William W. Reeder. (1974). Some Aspects of the Informal Social Participation of Farm
Families in New York State. Cornell University. (Unpublished Ph.D. Dissertation).