ความสำเร็จในการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุทางหลวง จากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมาไปปฏิบัติ

Main Article Content

เบญจมาศ ภูมิจิรัชยา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาสภาพการใช้รถใช้ถนนทางหลวงจากกรุงเทพมหานคร         ถึงจังหวัดนครราชสีมา 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุทางหลวง             จากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมาไปปฏิบัติ และ3)เพื่อศึกษาแนวทางในการลดอุบัติเหตุทางหลวง                  จากกรุงเทพมหานครถึงจังหวัดนครราชสีมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิจัยครั้งนี้ มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายการลดอุบัติเหตุในเขตทางหลวง ผู้มีส่วนในการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุในเขตทางหลวงไปปฏิบัติ    และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายการลดอุบัติเหตุทางหลวง ข้อมูลที่เก็บได้นำมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาการนำนโยบายการลดอุบัติเหตุทางหลวงไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดนั้น รัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในการมอบหมาย อำนาจหน้าที่ งบประมาณ บุคลากรให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบัน ท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมมากกว่าบริหารจัดการแก้ไขปัญหา  ส่วนการปรับปรุงประสิทธิผลการบริหารจัดการการลดอุบัติเหตุ    ทางหลวงนั้นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการดำเนินคดี และท้องถิ่นจังหวัดทำหน้าที่สนับสนุน ดังนั้น หน่วยงาน     ที่มีอำนาจหน้าที่จึงควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณและบุคลากรที่เพียงพอในการปฏิบัติงานเพื่อการนำนโยบาย          การลดอุบัติเหตุทางหลวงไปปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

เบญจมาศ ภูมิจิรัชยา, มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

References

กรมการขนส่งทางบก. (2558). แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2559-2563. กรุงเทพฯ : กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก

กรมการขนส่งทางบก. (2555). ข่าวสารกรมการขนส่งทางบก. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562, จาก http://www.dlt.go.th/th.

กาญจน์กรอง สุอังคะ. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2550). รูปแบบการรณรงค์สร้างเสริมความปลอดภัยทางถนนในชุมชน. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 45: สาขาศึกษาศาสตร์ สาขา เศรษฐศาสตร์และบริหาธุรกิจ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พลังเครือข่ายเพื่อถนนปลอดภัย. (2552). การบังคับใช้กฎหมาย Law Enforcement. ในการสัมมนา ระดับชาติเรื่อง อุบัติเหตุจราจรครั้งที่ 9, 20-21 สิงหาคม 2552. ศูนย์นิทรรศการและการ ประชุมไบเทค: กรุงเทพฯ.

วีรยา อุทยารัตน์. (2556). ศึกษาวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน. (2554). แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพฯ: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน.

อภิรักษ์ สะตะพันธ์. (2551). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการรถโดยสารในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิศวกรรม โยธา(วิศวกรรมขนส่ง). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.