แรงจูงใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความผูกพัน ต่อองค์กรของบริษัทอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

มานะ รุ่งรัศมี
สุมาลี รามนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยผู้นำการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจ และความผูกพันต่อองค์กรที่มีผลต่อพนักงานของบริษัทอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร (2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความผูกพันต่อองค์กรของบริษัทอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ พนักงานของบริษัทอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 258 ตัวอย่าง โดยใช้แนวคิดของ Cattell & Horn (1978) หลังจากนั้นจึงสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ(Stratified Random Sampling) และวิธีสุ่มตัวอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ปัจจัยด้านผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจและปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์กร ได้รับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญและได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัค 0.975,0.993และ0.940 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานและวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0


            ผลการศึกษา พบว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเท่ากับ (=3.97,S.D.= .821) ความผูกพันต่อองค์กร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีเท่ากับ (=3.97,S.D.= .820) และ แรงจูงใจในการทำงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเท่ากับ (=3.95 ,S.D.=.756) โดยส่วนผลการวิเคราะห์แรงจูงใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงผู้นำการเปลี่ยนแปลงสู่ความผูกพันต่อองค์กรของบริษัทอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร อย่างมีนัยสำคัญ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

มานะ รุ่งรัศมี , บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

สุมาลี รามนัฏ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

กัญจน์ณัฏฐ์ คงวิโรจน์. (2558). แบบของผู้นํา พฤติกรรมของผู้นํา แรงจูงใจของพนักงานปฏิบัติการที่มี

ประสิทธิผลในการทํางานของธนาคารแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความ

ผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปัทมา เจริญพรพรหม. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันในงาน และความผูกพันต่อ

องค์การ: กรณีศึกษาพนักงานกลุ่มบริษัทผู้ผลิตสินค้าบริโภคข้ามชาติแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพฯ.

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาธินี สมานันตกุล. (2555). ปัจจัยภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลง แรงจูงใจ ประสิทธิภาพของการติดต่อ

สื่อสารของหัวหน้าที่ส่งผลต่อความเหนียวแน่นภายในกลุ่มของพนักงานธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา. (2564). ภายใต้สถานการณ์ทั่วโลกยังต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 การฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเป็นปกติ แต่ทำอย่างไรจะทำให้อุตสาหกรรมอาหารฟของไทยยังคงเติบโต และมียอดคำสั่งซื้อเข้ามาต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-669444.

Cattell, R. B., & Horn, J. L. (1978). A check on the theory of fluid and crystallized intelligence with description of new subtest designs. Journal of Educational Measurement, 15(3), 139-164.

Chaiwat Sowcharoensuk. (2019). Business Outlook 2019-2021.Processed Seafood Industry https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Food-Beverage/Processed-Seafood/IO/io-frocessed-seafood-20-th.