การส่งเสริมการใช้แปลนชีวิต STUDENT PLANNER เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิต ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กรณีศึกษา : โรงเรียนหน้าศูนย์เครื่องมือกล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

Main Article Content

รวงทอง ถาพันธุ์
พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์
ทินกร พูลพุฒ
สิทธิพร เขาอุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการพัฒนาตนเองโดยใช้แปลนชีวิต และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ       ในการใช้แปลนชีวิต กลุ่มทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และครูผู้สอน รวมทั้งสิ้น 33 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้น       คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) กำหนดจุดประสงค์ในการปฏิบัติงาน 3) กำหนดวิธีปฏิบัติ          4) ลงมือปฏิบัติงาน 5) ประเมินผลการปฏิบัติงาน ดำเนินการวิจัยโดยใช้แปลนชีวิต เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิต          ภาคเรียนที่ 1และ 2 ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาความสามารถของครูผู้สอนในการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต (STUDENT PLANNER) พบว่าครูผู้สอนมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แปลนชีวิต (STUDENT PLANNER) อยู่ในระดับมาก 2.ผลการศึกษาพฤติกรรมการพัฒนาตนเองในการใช้แปลนชีวิต (STUDENT  PLANNER) ของนักเรียนพบว่า นักเรียนทุกคนสามารถสะท้อนประโยชน์ของการใช้แปลนชีวิต ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การบันทึกกิจกรรมในแต่ละวัน การสำรวจคุณค่าของตนเอง การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีวินัยในตนเอง มีความรู้และจดจำ บันทึกความทรงจำ รู้จักจัดลำดับขั้นตอนในการวางแผนชีวิต และรู้จักหน้าที่ของตนเอง 3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  พบว่าภาคเรียนที่ 1 ในภาพรวม นักเรียนมีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 56.80  และในภาคเรียนที่ 2 มีความพึงพอใจคิดเป็นร้อยละ 65.71

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รวงทอง ถาพันธุ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

ทินกร พูลพุฒ , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

สิทธิพร เขาอุ่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.

กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.(2563). แปลนชีวิต STUDENT PLANNER เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิต

ภาคต้น. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.

มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.(2563). แปลนชีวิต STUDENT PLANNER เส้นทางสู่การพัฒนาทักษะชีวิต

ภาคปลาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพัฒนาทักษะชีวิต.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการพัฒนา

ทักษะชีวิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อนงค์ รอดแสน. (2552). รายงานวิจัยการพัฒนาและผลการใช้คู่มือกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิต

(Life Skills) เพื่อพัฒนาผู้เรียน ช่วงชั้นที่ 3 และ 4. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เพชรบูรณ์ เขต 2.

องค์กรไร้ท์ทูเพลย์. (2553). คู่มือทักษะชีวิต เครื่องมือช่วยเหลือและสนับสนุนครู. เอกสารประกอบ

การฝึกอบรม, ม.ป.ท.

Black Well John. (2003). Use of Great Book in The Development of Assertiveness.

Retrieved December 1,2003, From http//web2 opnet.com/citation. Aps.

Trudy, Linda, (2003). The Role of Assertiveness and Decision Making in Early

Adolescents Substance Initiation Mediating Process. Retrieved September

,2003, From http//search epnet.com//direct. aps.