สภาพ ปัญหา ความต้องการ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารชุมชนของชุมชน ในพื้นที่บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร: กรณีศึกษาตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

รัษฎากร วินิจกุล
ปรียานุช พรหมภาสิต
วาสนา อาจสาลิกรณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา ความต้องการ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการอาหารชุมชนของชุมชน ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร โดยวิธีดำเนินการวิจัย ศึกษาจากเอกสาร การสนทนากลุ่ม           และการสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูล เป็นเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บุคลากรทางการศึกษาจากโรงเรียนประจำตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และผู้นำชุมชนในพื้นที่ตำบลท่าขุนราม       ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ได้จากการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าสภาพการจัดการอาหารของชุมชน มีหน่วยงานภาครัฐเป็นหน่วยงานหลัก อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนในการจัดการอาหารชุมชน และมีความเป็นอัตลักษณ์ของตลาดสามวิถี ปัญหาการจัดการอาหารของชุมชน ประชาชนส่วนใหญ่มีความคิดว่าเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ต้องให้ความรู้กับชุมชนซึ่งไม่ใช่ธุรกิจโดยตรง มีความต้องการการจัดการอาหารของชุมชนในการดำเนินงาน หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ต้องการให้มีความต่อเนื่องและยั่งยืน ปัจจัยอื่นและแนวทางพัฒนาให้ความสำคัญกับอาหาร     เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสามารถต่อยอดเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพของชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รัษฎากร วินิจกุล, อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ปรียานุช พรหมภาสิต , อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

วาสนา อาจสาลิกรณ์, อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2562).จำนวนประชากรรายตำบล. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2562,จาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/xstat/new/POPHSE/ stat_t60.txt.

กรมการพัฒนาชุมชน.(2560). การพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. สืบค้นเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://trang.cdd.go.th.

มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2563,

จาก https://www.kpru.ac.th/about-kpru.

วรรณภา บูชา. (2555). ความมั่นคงทางอาหาร...เริ่มจากครัวชุมชน. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/20285.

รุ่งเรือง สารวิจิตร, สุนทรี จีนธรรม, สุวารีย์ ศรีปูณะ. (2559).การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการอนุรักษ์ความหลากหลายของพืชอาหารด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย อีสเทิร์นเอเชีย (ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), ปีที่ 10 ฉบับที่ 1, 88-98.

สุเมธ ปานจำลอง. (2561). การศึกษาการจัดตั้งศูนย์วิจัยนวัตกรรมท้องถิ่น “สถาบันจัดการความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนภาคอีสานตอนกลาง”. สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2563, จาก https://elibrary.trf.or.th/project_contentTRFN.asp?PJID=RDG60E0080.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขุนราม. (2556). สภาพทั่วไปตำบลท่าขุนราม. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://www.thakhunram.go.th/condition1.php.

อมาวสี อัมพันศิริรัตน์ มาริสา สุวรรณ์ เกษศิรินทร์ ภู่เพชร. (2563). วิจัยประเมินแบบเสริมพลัง: โครงการอาหารของแม่เพื่อส่งเสริมโภชนาการของครอบครัวและชุมชน จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน),122-134.

Thai National Food Committee. (2013). Strategic framework for food management in Thailand. Bangkok: Author. (in Thai).