บทบาทองค์กรหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือกับการพัฒนาภาวะผู้นำ ของนักทำลายใต้น้ำจู่โจมในปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่า อะคาเดมี

Main Article Content

วุฒิชาติ บุสุวะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทองค์กรหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือกับการพัฒนาภาวะผู้นำของนักทำลายใต้น้ำจู่โจมในปฏิบัติการช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี ในอุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย   เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสาร และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ    ได้แก่ ผู้นำของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ และนักทำลายใต้น้ำจู่โจมส่วนล่วงหน้าที่เป็นฝ่ายปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้     ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการองค์การของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ มีการจัดการองค์กรแบบระบบราชการ และผู้นำในระดับต่าง ๆ ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ มีพฤติกรรมผู้นำแบบมุ่งงาน 2) ผู้นำของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ มีบทบาทสำคัญในปฏิบัติช่วยเหลือทีมหมูป่าอะคาเดมี โดยมีพฤติกรรมผู้นำแบบปรึกษาหารือ และเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

วุฒิชาติ บุสุวะ, นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ. (2561). ข้อมูลหน่วยงาน. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2561, จาก

http://www2.fleet.navy.mi.th/nswc/index.php/today/index.

Bass, B. M. (1990). From Transactional to Transformational Leadership: Learning to Share the Vision. Organizational Dynamics, 18(1), 19-32.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-

Hill.

Lunenburg, F.C., & Ornstein, A.C. (1996). Educational administration: Concepts and practices. (2nd ed.).Belmont, CA: Wadsworth.

Weber, Max. (1947). The Theory of Social and Economic Organizations. Translated by A.M. Handerson and T. Parsons. New York: Free Press.