กระบวนการจัดการและฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลบ้านราษฏร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ของมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์

Main Article Content

สุกฤษฏิ์ชัย ธีระเริงฤทธิ์
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ภายใต้โครงการมวลชนพัฒนาฟื้นผืนป่าแผ่นดินอีสานใต้ ของมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ และ 2) เพื่อพิจารณาการมีส่วนร่วมที่เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่ความสามารถในการฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 คน ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ หัวหน้าโครงการมวลชนพัฒนาฟื้นผืนป่าแผ่นดินอีสานใต้ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารโรงเรียน และชาวบ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ของมูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์ ประสบความสำเร็จด้วยการนำแนวคิดการฟื้นฟูป่าไม้     อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง คือ การทำให้เกิดป่าไม้ใช้สอย ป่าไม้กินได้ และป่าไม้เศรษฐกิจ โดยมีประโยชน์ 4 อย่างคือ ประโยชน์ในการใช้สอย ประโยชน์ในการเป็นอาหาร ประโยชน์ในการเป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน และประโยชน์ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ 2) การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับปานกลาง คือ          การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ และการมีส่วนร่วมในการประเมินผล แต่ยังขาดการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุกฤษฏิ์ชัย ธีระเริงฤทธิ์ , นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

ชุลีรัตน์ เจริญพร, อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กรมป่าไม้. (2552). การป่าไม้ในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม.

จินตนา สุจจานันท์. (2554). การศึกษาและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2559). ทฤษฎีการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม

, จาก htt://www.chaipat.or.th/site_content/68-4/254-theory-developed

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3. (2550). คู่มือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน

สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. พิษณุโลก : พิษณุโลกเปเปอร์แอนด์ซัพพลาย.

อนุสรณ์ ไชยพาน. (2552). ธรรมาภิบาลกับการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษา : เครือข่ายป่าชุมชนรอยต่อ

จังหวัดภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1977). Development participation: Concept and measure for

project design implementation and evaluation. New York: Cornell University.