การวิเคราะห์ภารกิจของหมอภาคย์ โลหารชุน กรณีปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยวนอุทยานถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน

Main Article Content

องอาจ ชัยมาตย์
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและภาวะผู้นำของหมอภาคย์  โลหารชุน ในการปฏิบัติการค้นหา      และกู้ภัย เพื่อช่วยเหลือชีวิตนักฟุตบอลเยาวชนทีมหมูป่าอะคาเดมี่ที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สื่อพิมพ์ออนไลน์ต่าง ๆ และเอกสารการถอดบทเรียนภายหลังการปฏิบัติงาน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย พ.อ.นพ.ภาคย์ โลหารชุน นักทำลายใต้น้ำจู่โจมที่เข้าร่วมปฏิบัติการ และผู้ใต้บังคับบัญชาที่ในสังกัดกองพันเสนารักษ์ที่ 3 วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา              ผลการศึกษาพบว่า หมอภาคย์ โลหารชุน เป็นแพทย์ทหารบก สังกัดกองพันเสนารักษ์ที่ 3 ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ จังหวัดนครราชสีมา สำเร็จหลักสูตรทางทหารที่สำคัญหลายหลักสูตร โดยเฉพาะหลักสูตรนักเรียนนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (หน่วยซีล) มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในปฏิบัติการช่วยเหลือชีวิต นักฟุตบอลเยาวชน          โดยการดำน้ำเข้าไปในถ้ำพร้อมกับนักทำลายใต้น้ำจู่โจม จนสามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ และการมีคุณลักษณะภาวะผู้นำที่ใช้กระบวนการทำให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใช้ความพยายามในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้บรรลุเป้าหมายในสถานการณ์หนึ่ง มีคุณลักษณะผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งงาน คือ ให้ความสำคัญกับงาน ใช้เทคนิคต่าง ๆ  เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้      และเป็นผู้นำที่มีพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์  โดยพยายามรักษาความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงานอย่างเห็นได้ชัด       กับการปฏิบัติงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก พร้อมทั้งสั่งสอนเรื่องการใช้ชีวิตการปรับตัวกับสังคม    ที่เปลี่ยนไป และเปิดให้ผุ้ใต้บังคับบัญชาในการมีโอกาสในการเป็นผู้นำและออกความคิดเห็นได้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

องอาจ ชัยมาตย์ , นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

รัตพงษ์ สอนสุภาพ, อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (LEADERSHIP:

THEORIES, RESEARCH, AND APPROA). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย.

Anderson, D. W., Krajewski, H. T., Goffin, R. D., & Jackson, D. N. (2008). A Leadership Self-Efficacy Taxonomy and its Relation to Effective. Leadership Quarterly, 19(5), 595-608.

Hersey Paul & Blanchard H. Kenneth. (1982). Management of organizational behavior: Utilizing

human resources. New York: Prentice -Hall. Hickman. Craig R.

George Herbert Mead. (1934). Mind, Self, and Society. Chicago: University of Chicago Press