รูปแบบความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลการปฏิบัติงาน ของบุคลากรในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

อุรัสยา มะคนมอญ
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของวัฒนธรรมองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากร และ (2) อิทธิพลคั่นกลางแบบอนุกรมของการรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่เป็นปัจจัยเชื่อมโยงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการปฏิบัติงาน         ของบุคลากรในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 146 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) บุคลากรที่ปฏิบัติงานประจำอยู่ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา มีระดับของวัฒนธรรมองค์การ การรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10, 4.07, 4.02 และ 4.18 ตามลำดับ มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.534, 0.536, 0.514 และ 0.529 ตามลำดับ และ (2) การรับรู้ความสามารถของตนเองและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเป็นตัวแปรคั่นกลางแบบอนุกรมระหว่างวัฒนธรรมองค์การสู่ผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.049 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.236


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

อุรัสยา มะคนมอญ , หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ธัญนันท์ บุญอยู่, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

กรมป่าไม้. (2562). นโยบายป่าไม้แห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก https://www.forest.go. th/forest-national-policies.

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2562). เขาใหญ่ (Khao Yai). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2563, จาก http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php.

ชัยพันธุ์ ยุวนะเตมีย์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมจากหัวหน้ากับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เดชา นิลวิเชียร. (2546). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ประจำส่วนป้องกันและปราบปรามที่ 4 (ภาคใต้) กรมป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อธิป เมฆสถิตย์. (2550). การชมสื่อซีดีการแสดงตลกขณะพักเที่ยงที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงาน: ศึกษาเฉพาะกรณี พนักงานผลิตเลนส์แว่นตา. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปะศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Canrinus, E. T., Helms-Lorenz, M., Beijaard, D., Buitink, J., & Hofman, A. (2012). Self-efficacy, job satisfaction, motivation and commitment: Exploring the relationships between indicators of teachers’ professional identity. European Journal of Psychology of Education, 27, 115-132.

Greenberg, J., & Baron, R. A. (2008). Behavior in organizations. (9th ed.). London: Pearson Education.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.

Sugianingrat, I. A. P., & Sarmawa, I. W. G. (2017). Effect of work culture on employee performance with work motivation as mediator: Stuey at non-star hotel in Denpasar-Ball, Indonesia. International Journal of Economics, Commerce and Management, 5(12), 858-867.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.