แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

กัมปนาท ทองดอนใหม่
สุชาต อดุลย์บุตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี (2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี (3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้       ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแทนครัวเรือนในเขตตำบลทับใต้ จำนวน 138 คน กลุ่มเป้าหมายผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ   ผลการศึกษา พบว่า (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี ในภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการสื่อสาร ด้านวิถีชีวิตของประชาชน มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผลกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ด้านความผูกพันต่อชุมชนและด้านผู้นำองค์การบริหารส่วนตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาห้าปี พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาเสนอแนะความคิดเห็นในการจัดทำแผน โครงการ และสนับสนุนในกิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดทำ ซึ่งประชาชนควรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาแผน ที่ตรงกับความต้องการและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนพัฒนาห้าปีขององค์การบริหารส่วนตำบล


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กัมปนาท ทองดอนใหม่ , หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

สุชาต อดุลย์บุตร, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบันฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

References

โกวิทย์ พวงงาม (2552). การปกครองท้องถิ่นไทย: หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ฐิติอลีนา ใจเพียร. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ภายใต้กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. ค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ณัฏยานี บุญทองคำ. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
ธงชัย สันติวงษ์. (2554). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ.: โรงพิมพ์เจริญพัฒน์.
พระราชบัญญัติการจัดทํายุทธศาสตร์ชาติ. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 79 ก. 31 กรกฎาคม 2560.
เวธกา เสวครบุรี. (2554). แนวทางการฟื้นฟูและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของชาวกะเหรี่ยงบานไรปา ตำบลหวยเขยง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. . สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี.
ลัดดาวรรณ นนปะติ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลวัดละมุด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม.วารสารการบริหารปกครอง (Governance Journal), ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559)
สนิ คำคง. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี ขององค์การบริหารส่วนตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุปราณี สุวรรณ์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สุวัตถิ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวัน. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุเนติลักษณ์ ยกเทพ และยุภาพร ยุภาส. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบล บ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5 (พิเศษ), 182-191.
สำนักงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2562). จำนวนครัวเรือน องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. สำนักงานทะเบียนราษฎร์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์.
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562) รายงานวิชาการสำนักงบประมาณของรัฐสภา ฉบับที่ 2/2562 การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการงบประมาณ. สำนักงบประมาณของรัฐสภา.
อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน สําหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1990). The measurement and antecedents of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63, 1-18.
Beebe, S.A. Mottet, T.P. & Roach, K.D. (2004). Training and Development , Enhancing Communication and Leadership Skills. New York, Pearson and AB.
Bloom, B. S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York, McGraw-Hill.
Cohen J. M. & Uphoff, N. T. (1977). Rural development participation, concept and meaures for project design. implementation and evaluation. New York, Cornell University.
Dubrin .J. (1998). Leadership research findin , Practice and skills. Boston Houghton, Mifflin Company
Green, S. B. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis?. Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.