ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทมหานคร 26

Main Article Content

กมลรัตน์ แนวบรรทัด
ทิฆัมพร พันลึกเดช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความสุขในการทำงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 (2) ศึกษาเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน กับความสุขในการทำงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในสังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 จำนวน 149 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบ t-test, F-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์   แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานและความสุขในการทำงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้คือ ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านสัมพันธภาพในการปฏิบัติงาน    ด้านความมั่นคงในการปฏิบัติงาน ด้านสิ่งตอบแทนและประโยชน์ตอบแทน และด้านโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่ที่แตกต่างกันจำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ที่ต่างกัน จะส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านเพศ สถานภาพ และรายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน    จะส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ที่ไม่แตกต่างกัน และ (3) ปัจจัยความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับความสุข ในการทำงานของบุคลากร สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 ด้วยสถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ด้านสัมพันธภาพในการปฏิบัติงาน ด้านความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ด้านความมั่นคง    ในการปฏิบัติงาน ด้านสิ่งตอบแทนและประโยชน์ตอบแทน และด้านโอกาสก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญ    ทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กมลรัตน์ แนวบรรทัด , หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

 

ทิฆัมพร พันลึกเดช, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

งานบริหารทั่วไป สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26. (2562). จำนวนบุคลากรที่ทำงานในสังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 ปี 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26.
จรรยา ดาสา. (2556). ความสุขในที่ทำงาน. ค้นสืบเมื่อ 12 มกราคม 2562, จากhttp://www.il.Mahidol.ac.th.
นภัสจันท์ มงคลพันธ์ และคณะ. (2560). ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 34(2), 87-99.
ภาวินี พลายน้อย และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 92-105.

ภัทรดนัย ใต้ไธสง. (2561). ความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ทรู ดิสทริบิวชั่น แอนด์ เซลส์ จำกัด พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 8(1), 15-35.
สมเกียรติ ณ บางช้าง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของคนทำงานในเจเนอเรชันวายในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวาการศรีปทุม ชลบุรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 13(3), 176-188.
สุภาภรณ์ แซ่ฉาย และธนาวุฒิ ประกอบผล. (2560). ความสุขในการทำงานของ พนักงานบริษัท ดาต้า เพาเวอร์ จำกัด. วารสาร ว.มรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(3), 221-220.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ สสส.. (2560). ความสุขในการทำงาน. สืบค้นเมื่อ 15 กุมพาพันธ์ 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/tag/ความสุขในการทำงาน.
อภิญญา ศรีจันทร์. (2555). ความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลอินเตอร์เนชั่นแนล.
วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 29(2), 44-57.
อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์, (2553). เครื่องมือพัฒนาบุคลากรด้วย “การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน”. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2562, จาก http://peoplevalue.co.th.
อิสรีย์ ทองคำ. (2554). แนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุขเทศบาลตำบลดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ร.ป.ม. (การปกครองท้องถิ่น) สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory analysis. (3rd ed). New York: Harper and row publication.