การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืนเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

จิระวดี บัวชุม
นิตยา สินเธาว์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืนของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ศึกษาการประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจชุมชนอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์          (3) ศึกษาการประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุ-ผล กับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 130 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติค่าไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) การพัฒนาวิสาหกิจชุมชน    ให้เกิดความยั่งยืน ของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมและรายด้าน มีการพัฒนาอยู่ในระดับมาก (2) การประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของวิสาหกิจชุมชนอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน มีการประยุกต์        อยู่ในระดับมาก (3) การประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในภาพรวม ด้านนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยี ด้านความคิดสร้างสรรค์          ด้านการสนับสนุนของภาครัฐ และมีความสัมพันธ์เชิงเหตุ–ผลกับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืนของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 แสดงให้เห็นว่า การประยุกต์นโยบายไทยแลนด์ 4.0      โดยอาศัยนวัตกรรม เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และการสนับสนุนของภาครัฐ เป็นตัวขับเคลื่อนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืน ในพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้อย่างประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวังไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

จิระวดี บัวชุม , หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

นิตยา สินเธาว์, หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

References

กษมาพร พวงประยงค์. (2556). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มการแปรรูปและผลิตภัณฑ์จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 108-120.
ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.
ชิตวรา บรรจงปรุ. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมการเสริมสร้างศักยภาพทางการแข่งขันในการประกอบการวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(1), 98-113.
ชุติมา หวังเบ็ญหมัดและ ธนัชชา บินดุเหล็ม. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ, 1 (1), 109-123.
ชัญญาภัค หล้าแหล่ง. (2561). การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่จังหวัดชุมพร. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 3,447-3,464.
ราชกิจจานุเบกษา. (2548). พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก 18 มกราคม 2548, 1-12.
วิสาหกิจชุมชน. (2562). วิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2562,จาก http://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php?region_id=&province_id=77&hur_id=07&key_word=.
วิสาหกิจชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (2562). จำนวนผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอหัวหิน. วิสาหกิจชุมชน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. กองบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.
ศราวุธ พจนศิลป. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ของจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
สวลี วงศ์ไชยา. (2561). อิทธิพลของกลยุทธ์ธุรกิจและคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(2), 139-152.
สหัสา พลนิล. (2554). แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ความยั่งยืน.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย, 7(2), 39-52.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2552). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2554). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.
Davis, G.A. (1973). Psychology of Problem Solving. New York : Basic Books.
Layton. (1994). Research in education. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall.
Rogers, E. M. (2003). Diffusion of innovations. 5th edition. New York : The Free Press.
Samuel B Green. (1991). How Many Subjects Dose It Take to Do a Regression Analysis? Multivariate Behavioral Research, 26(3), 499-510.