ตัวแบบเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการ ธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของการเป็นผู้ประกอบการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของขององค์กร และ (2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อผลการดำเนินงานขององค์กรของผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 100 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย ซึ่งการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคมีค่าอยู่ระหว่าง 0.916-0.980 และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการธุรกิจคอมพิวเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีระดับการเป็นผู้ประกอบการ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของขององค์กร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.14, 4.12 และ 4.28 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.488, 0.511 และ 0.570 ตามลำดับเช่นกัน และ (2) การเป็นผู้ประกอบการที่ประกอบด้วย การทำงานเชิงรุก และการกล้าเผชิญกับความเสี่ยงมีอิทธิพลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว การสร้างความแตกต่าง และความได้เปรียบทางด้านต้นทุน ส่วนความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ประกอบด้วย การตอบสนองอย่างรวดเร็ว และความได้เปรียบทางด้านต้นทุนมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร แต่ความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการสร้างความแตกต่างไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กร ซึ่งจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ธุรกิจคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องอาศัยคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการที่ดีที่จะต้องมีการทำงานเชิงรุก และกล้าที่จะเผชิญกับความเสี่ยง เพื่อจะสามารถสร้างให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขันในหลาย ๆ อาทิ การตอบสนองอย่างรวดเร็วและการสร้างความได้เปรียบทางด้านต้นทุน เป็นต้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวก็จะสามารถก่อให้เกิดผลการดำเนินงานขององค์กรที่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้และการเป็นผู้ประกอบการสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ (ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, ปีที่ 8 (ฉบับพิเศษ), 44-62.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ. (2562). แผนปฏิบัติการดิจิทัล สำนักงานคณะกรรมการนโยบาลรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก http://www.sepo.go.th/tinymce/plugins /filemanager/thumbs//sepo-ict-2562.pdf.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2561). เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อธุรกิจบริการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก https://www.sme.go.th /pload/mod_download/download-20181005082111.pdf.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์.
อุบลวรรณ สุวรรณภูสิทธิ์ และอำพล ชะโยมชัย. (2561). นวัตกรรมและผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 38(1), 18-35.
Amiri, N. S., Shirkavand, S., Chalak, M., & Rezaeei, N. (2017). Competitive intelligence and developing sustainable competitive advantage. Ad-Minister. 30, 173-194.
Hao, M. (1999). Creation and preemption for competitive advantage. Management Decision, 37(3), 259-266.
Hosseini, S. M. & Sheikhi, N. (2012). An empirical examination of competitive capability’s contribution toward firm performance: Moderating role of perceived environmental uncertainty. International Business Research, 5(5), 116-131.
Likert, R. (1932). A Technique for Measurement of Attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.
Lumpkin, G. T., & Dess, G. G. (1996). Clarifying the Entrepreneurial Orientation Construct and Linking it to Performance. Academy of Management Review, 21(1), 135–172.
Mohammadi, R., Sherafati, M., & Ismail, M. N. B. (2014). Factors affecting intellectual capital and its role in financial performance of organization. Indian Journal Science Research, 5(1), 314-320.
Paek, B., & Lee, H. (2018). Strategic entrepreneurship and competitive advantage of established firms: Evidence from the digital TV industry. International Entrepreneurship and Management Journal, 14, 883-925.
Santos, J. B., & Brito, L. A. L. (2012). Toward a subjective measurement model for firm performance. BAR, Rio de Janeiro, 9(Special), 95-117.
Sirivanh, T., Sukkabot, S. & Sateeraroj, M. (2014). The effect of entrepreneurial orientation and competitive advantage on SMEs’ Growth: A structural equation modeling study. International Journal of Business and Social Science, 5(6), 189-195.
Vijaya, C., Das, M., & Das, M. (2015). Entrepreneurship competencies and competitive advantage of small and medium enterprises of Odisha: A statistical analysis. International Journal of Management, 6(1), 740-757.
Zehir, C., Can, E., & Karaboga, T. (2015). Linking entrepreneurial orientation to firm performance: The role of differentiation strategy and innovation performance. Social and Behavioral Sciences, 210, 358-367.