การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3

Main Article Content

ธิดารัตน์ ชัชวาลพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. และเพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 กลุ่มตัวอย่างได้แก่  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3/2 จำนวน 34 คน โรงเรียนพินิจวิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1.หลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3 ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้าง/เนื้อหา ของหลักสูตร 5) กิจกรรมการเรียนรู้  6) ระยะเวลา 7) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 8) การประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  ในภาพรวมหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมากและคู่มือการใช้หลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2. ผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการเขียนเพื่อการสื่อสารตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซี. ไอ. อาร์.ซี. สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3             นักเรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ธิดารัตน์ ชัชวาลพงศ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

กมลชนก สุขสุวรรณ. (2558). การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรื่องจากภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กฤษณา พงษ์วาปี. (2550). การศึกษาความสามารถในการอ่าน และเขียนภาษาไทย และทักษะการทำงานร่วมกันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรูปแบบการสอน CIRC.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
จิรภา จันทพัฒน์. (2550). ผลการใช้วิธีสอนแบบ CIRC ที่มีต่อความเข้าใจในการอ่านและความสามารถในการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ญาดา หอมเกษร. (2552). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและเจตคติต่อวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้โดยรูปแบบ CIRC กับกลุ่มการเรียนรู้ตามคู่มือครู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ทิศนา แขมมณี (2550). ศาสตร์การสอน : ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย.
วิราภรณ์ กลัดสันเทียะ. (2553). การศึกษาความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 โดยใช้วิธีการเรียนแบบ CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
Johnson, D.W.& Johnson, R.T. (1987). Learning Together and Alone : Cooperative and Individuallistic Learning. 4th ed. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Braceand World