ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา มีบทบาทในการส่งเสริมคุณลักษณะบุคคลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพ กรณีศึกษา บริษัท ประกันภัย

Main Article Content

นภสินธุ์ พรมวิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาวิเคราะห์สภาพคุณลักษณะบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา ปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาบุคลิกภาพ  2.เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีต่อการพัฒนาบุคลิกภาพบุคคล 3.เพื่อหาแนวทาง        ในการพัฒนาบุคลิกภาพ พนักงาน ตัวแทนจำหน่าย โดยใช้การวิจัยในรูปแบบผสมผสาน ( Mixed Methods Research) ในการวิจัย        เชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 10 ท่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ ได้แก่ พนักงาน ตัวแทนจำหน่าย จำนวน 400 คน 1.คุณลักษณะบุคคลของผู้ใต้บังคับบัญชา ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาบุคลิกภาพ     พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงมีอายุ 31 – 40ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งหน้าที่รับจ้างทั่วไป มีรายได้ต่อเดือน 15,000 – 20,000 บาทประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 6 – 10 ปี ส่วนบุคลิกภาพด้านคุณลักษณะแบบเปิดรับประสบการณ์ 279 คน แบบประนีประนอม 80 คน แบบมีมโนสำนึก  21 คน แบบหวั่นไหว 20 คน แบบแสดงตัว 0 คน ตามลำดับ 2.ความพึงพอใจของผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีอิทธิพล ต่อการพัฒนาบุคลิกภาพบุคคลค่าเฉลี่ยโดยภาพรวม            อยู่ในระดับปานกลาง พิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ความพึงพอใจต่อแผนการพัฒนาบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในระดับมาก รองลงมาความพึงพอใจต่อการฝึกอบรม อยู่ในระดับปานกลาง ความพึงพอใจต่อการสัมมนาเชิงปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง       และความพึงพอใจต่อการสนับสนุน ของผู้บริหาร อยู่ในระดับปานกลาง ตามสมมติฐาน 3.แนวทาง ในการพัฒนาบุคลิกภาพบุคคล มีองค์ประกอบทั้ง 4 ด้าน พบว่า ด้านการฝึกอบรมมีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนา ส่วนอีก 3 ด้านไม่มีอิทธิพลต่อแนวทางการพัฒนา 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

นภสินธุ์ พรมวิเศษ, หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่น

References

ชัชวาล พุทโธนโมชัย. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่ประชาคมอาเซียนของนิคมอุตสาหกรรมในภาคตะวันออก : นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. สาขาบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ธัชสร บันดาลชัย. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธกับความรับผิดขอบต่อสังคมอย่างยั่งยืนขององค์การ กรณีศึกษา บริษัทโทเทิล แอทแซส คอมมูนิเคชั่น จํากัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นภสินธุ์ พรมวิเศษ. (2560). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างทาง.สาขาบริหารธุรกิจดุษฏีบัณฑิต.มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
พิชญา วัฒนรังสรรค์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานแรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พัชรี ภูบุญอิ่ม. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของนักศึกษา เกี่ยวกับการบริการของสำนักส่งเสริมวิชาการ และงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภาณุเดช เพียรความสุข. (2558). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการของ สำนักส่งเสริมวิชาการ และงานทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ภัทรจิระ พิสิฐมุกดา. (2560). การสร้างบุคลิกภาพ ภาพลักษณ์และแบรนด์บุคคลของศิลปินในยุคดิจิทัล. ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
รัตนาภรณ์ บุญนุช. (2555). การพัฒนาและการฝึกอบรมที่มีผลต่อประสิทธิภาพของพนักงาน : กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต 1 ภาคกลางจังหวัดพระนครศรี อยุธยา. หลักสูตรบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
วีระวัฒน์ ทองป้อง. (2558). การศึกษาแนวทางการพัฒนาความพึงพอใจในการทำงานของพนักงาน : กรณีศึกษาองค์การผู้ประกอบการโลจิสติกส์. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบณัฑิต สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิริพร เมฆสุวรรณ. (2558). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนปทุมคงคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อรุณเนตร จันทศรี. (2557). พฤติกรรมการบริหารของผู้บังคับบัญชาในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Andrew, H.A. and Roy, S. C. (1991). The Roy’s adaptation model. California: Aplenton & Lange.
Black, J. S. (1988). Work role transitions: A study of American expatriate managers in japan. Journal of International Business Studies, 19 (2), 277-290.
Na-Nan, K. and Pukkeeree, P. (2013). Influence of job characteristics and job satisfaction effect work adjustment for entering labor market of new graduates in Thaiand. Internationa Journa of Business and Socia Science, 4 (2), 95-100.
shaffer, M, A., Harrison, D.A.,Gregersin, H. Black, J.S., and Ferzandi, L.A.(2006). You can take it with you : Indivedual differences and eepatriate effectiveness. Journal of Applied
Psychology,91 (1), 109-124.
Tung, R. (1981). Selecting and training of personne for oversea assignments. Columbia Journal of World Business, 16 (1), 68-78.