บทบาทการพัฒนาท้องที่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

นิยม พัฒนศรี
พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาท้องที่ 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆจากบทบาทการบริหารของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาท้องที่ และ3) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงบทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาท้องที่ของจังหวัดนครปฐมให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป ใช้วิธีการวิจัย         เชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแนวคำถาม    ในการสัมภาษณ์และการวิเคราะห์ อ่านผล ตีความ และหาข้อสรุป โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้เปิดเผย           แทนข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. บทบาทกำนันผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาท้องที่ เนื่องจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้เข้ามา           มีบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาท้องที่ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในตำบลซึ่งเคยเป็นภารกิจสำคัญของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน      อย่างไรก็ตามกำนัน ผู้ใหญ่บ้านยังมีบทบาทและปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านการส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานท้องถิ่น การประสานนโยบายของหน่วยงานท้องถิ่นกับความต้องการของราษฎร การติดตาม สอดส่อง ดูแล และประสานการปฏิบัติงานหน่วยงานท้องถิ่นให้เป็นไปตามกฎหมายและเจตนารมณ์ของราษฎรในท้องที่    และท้องถิ่นของแต่ละอำเภอในจังหวัดนครปฐม 2. ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในด้านต่าง ๆ จากบทบาทการบริหารของกำนันผู้ใหญ่บ้านในการพัฒนาท้องที่ โดยกำนันผู้ใหญ่บ้านเองนั้นมองบทบาทการทำงานของตนเองในแง่ดีมากกว่าชาวบ้านทั้งด้านบทบาทการทำงานจริง และความคาดหวังที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบบทบาทในทุกด้านแล้วแล้ว ทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านต่างเห็นว่าภาวะความเป็นผู้นำและคุณสมบัติของผู้นำเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดสำหรับการเป็นผู้นำชุมชน แต่ในด้านตรงกันข้ามการเปลี่ยนแปลงของชุมชนและบริบททางสังคมในจังหวัดนครปฐม และการเติบโตอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการรุกเข้ามาของชุมชนสมัยใหม่ กลุ่มอาชีพ และกลุ่มทางสังคมใหม่ ระบบการผลิตและระบบตลาด ความเป็นทุนนิยม ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในชุมชนชนบทไปสู่ความเป็นชุมชนเมือง          ที่ประชาชนไม่ต้องพึ่งพาผู้นำชุมชนมากนัก ทำให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านต้องปรับตัว และแสวงหาบทบาทและความชอบธรรมต่อการดำรงอยู่ของตนมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

นิยม พัฒนศรี , มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ, มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

References

ไททัศน์ มาลา. (2559). การคงอยู่ของกำนันผู้ใหญ่บ้านในบริบทของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น: กรณีศึกษา จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลย อลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 305-317.
พรชัย เทพปัญญา. (2560). การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 12(2), 181-202.
วัชรพงษ์ หนูชัย และคณะ. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทของผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่เทศบาลเมือง ต้นเปากับประธานชุมชนในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับ บัณฑิตศึกษา, 4(3), 85-95.
สุจิตรา ธนานันท์. (2550). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐประศาสนศาสตร์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุริยะ วิริยะสวัสดิ์. (2552). บทบาทกํานันผู้ใหญ่บ้านท่ามกลางสังคมไทยที่เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน. วารสารกํานัน ผู้ใหญ่บ้าน. 62,(3). 11-15.
อนัญญา ศุภจรูญวงศ์. (2563). บทบาทของผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ในอนาคต. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3). หน้า 733-746.
อุทัย เลาหวิเชียร.(2543). รัฐประศาสนศาสตร์: ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์เสมาธรรม.
Delahaye, B. L. (2005). Human Resource Development: Adult Learning and KnowledgeManagement. 2nd ed. Milton, Qld: John Wiley Press.
Jackson, S.E., Schuler, R.S., & Werner, S.(2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Pender J Nola. (1996). Health Promotion in Nursing Practice. 3thed. USA: Appleton and Lange.
Mannheim, B. and Halamish, H. (2008). Transformational Leadership as Relate to Team Outcomeand Contextual Moderation. Leadership & Organization Development Journal, 29 (7), 617-630.
Mondy, R. W. and Mondy, J. B. (2008). Human Resource Management. Upper Saddle River, New Jersey : Pearson Education.
Walton, R. E. (1973). Quality of working life: What is it? .Slone Management Review, 15, 11-21.