การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

พงษ์ประพันธ์ ตุ่นแจ้
ปริญญภาษ สีทอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ตามแนวคิดของเดวีส์และเพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่ม                  ตามแนวคิดของเดวีส์  กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดตาก        ที่สมัครเข้ารับการอบรมตามหลักสูตร จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ตามแนวคิดของเดวีส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการพัฒนาหลักสูตรและประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่ม ตามแนวคิดของเดวีส์ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตร 5) กิจกรรมการเรียนการสอน 6) ระยะเวลา 7) สื่อแหล่งเรียนรู้ 8) การวัดและประเมินผล ในภาพรวมหลักสูตร มีคุณภาพอยู่ในระดับมากและคู่มือการใช้หลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2. ผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่มตามแนวคิดของเดวีส์  นักเรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่าง    มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

พงษ์ประพันธ์ ตุ่นแจ้ , มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

ปริญญภาษ สีทอง , มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

References

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. (2558). แผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : (ม.ป.ท.)
กันตพร พูลศิริ. (2552). การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เรื่องคนดีของสังคมด้วยกระบวนการสร้างค่านิยม เกี่ยวกับกฎหมายในชีวิตประจำวัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2557). การพัฒนาหลักสูตรเสริมาร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทวิดา กมลเวชช. (2554). คู่มือการจัดการภัยพิบัติท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ทิพรัตน์ มาศเมธาทิพย์. (2558). การพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นกระบวนการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาภูมิปัญญาด้านภัยพิบัติน้ำท่วมอำเภอบางระกำ จังหวักพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงณ์มหาวิทยาลัย.
ไทยพีบีเอส. (2556). เตรียมย้ายโรงเรียนบ้านพะเด๊ะ จ.ตาก ไปผืนป่าชุมชน หลังดินถล่มทับอาคาร. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562,จาก https://news.thaipbs.or.th /content/188195.
ปิยวรรณ ทองสุข. (2557). การเตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยพิบัติน้ำท่วม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
มาโนชญ์ ติณสิริสุข. (2559). โปรแกรมการรับมือทักษะการรับมือภัยพิบัติดินโคลนถล่มโดยใชน้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐานด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : คำสมัย.
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ. (2562). ดินภูเขาถล่มทับทางสายแม่สอด-ตาก ตำรวจ คนงาน วิ่งหนีตาย. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2562,จาก https://www.thairath.co.th/news/local /north/ 1625246.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556.). แนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่องการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. กรุงเทพฯ : องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.
Dave. I.K. (1971), The Management of Learning. London : McGraw-Hill
Taba, H. (1962). Curriculum Development Theory and Practice. New York : Harcourt, Brace and Word.