ตัวแบบสมการโครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับของแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และ (2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 225 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีระดับของแรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และความสุขในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70, 3.98 และ 3.69 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.369, 0.434 และ 0.520 ตามลำดับ และ (2) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.081 และ ขอบเขตบนเท่ากับ 0.305 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานในธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดการรับรู้บทบาทในการปฏิบัติงานที่ดีที่จะสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจในการทำงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้พนักงานเกิดความสุขในการทำงานที่แท้จริงอันจะเป็นรากฐานให้พนักงานทุกคนในองค์การเกิดการปฏิบัติงานอย่างมีความสุขในการทำงานตลอดไป
Article Details
References
ขเคนทร์ วรรณศิริ และอรัญญา ตุ้ยคัมภีร์. (2557). โมเดลเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ: อิทธิพลของแรงจูงใจเอื้อสังคมในการทำงานและบุคลิกภาพ. วารสารศรีนครินทร วิโรฒวิจัยและพัฒนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(12), 45-58.
ชนิสา ไชยยันต์บูรณ์. (2561). อิทธิพลของความอิสระในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรกำกับอิทธิพลของบรรยากาศองค์การและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การสู่ความสุขในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมการพิมพ์สิ่งทอในเขตสมุทรสาคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
ธิดารัตน์ เทพพานิช. (2560). ความสัมพันธ์ของการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของข้าราชการ สังกัดสำนักงานสรรพากรพื้นที่ในจังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค. (2562). สรุปรายงานข้อมูลของภาคธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคประจำปี 2562. กรุงเทพมหานคร: ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค.
ปิยะพร วงษ์อุดม. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่ทุรกันดารภาคเหนือตอนบน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนมพร บำรุงบุญ และปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏมาหาสารคาม. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
รุจิรา เชาว์สุโข. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและความผูกพันต่อองค์การของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ กรณีศึกษาบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัศยา หวังพลายเจริญสุข และวิชัย อุตสาหจิต. (2558). การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร กรณีศึกษา: องค์กรสร้างสุข. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ศักรินทร์ นาคเจือ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมการอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรมนุษย์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ศิริขวัญ เพ็งสมยา. (2561). รูปแบบความสัมพันธ์ของจิตวิญญาณในการทำงานที่มีต่อความสุขในการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาสังกัดสภาคริสตจักรในเขตบางรัก. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ, มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.
อลิษา กำแพงเงิน, ธัญนันท์ บุญอยู่ และสมใจ บุญทานนท์. (2562). ตัวแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของสภาพแวดล้อมขององค์การและคุณภาพชีวิตในงานที่มีผลต่อการรับรู้ความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ราษฎร์บูรณะ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 11(3), 124-137.
Chiun, L. M., & Ramayah, T. (2009). Dimensionality of organizational citizenship behavior (OCB) in a multicultural society: The case of Malaysia. International Business Research Journal, 2(1), 48-55.
Diener, E. (2003). Subjective well-being. Psychological Bulletin, 95(3), 542-575.
Fisher, C. D. (2010). Happiness at Work. International Journal of Management Reviews, 12, 384–412.
Greenberg, J., & Baron, A. R. (2003). Behavior in organizations. Prentice Hall, 5, 188-215.
Hair, J. F., Anderson, R. E., Tatham, R. L., & Black, W. C. (1998). Multivariate data analysis (5th ed.). New York: Prentice-Hall.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Robbins, S. P. (2003). Organizational Behavior: Concepts, Controversies, and Application. Englewood Ciff, New York: Prentice-Hall.
Sukarman, Said, S., Hamzah, N., & Ella, H. (2018). Role of work motivation and organizational culture in improving the performance of civil servants and organizational citizenship behavior (OCB) in Boalemo district Gorontalo province. Journal of Scientific & Technology Research, 7(11). 44-51.
Wesarat, P., Sharif, Y. M., & Majid, A. H. A. (2015). A conceptual framework of happiness at the workplace. Asian Social Science, 11(2), 78-88.