ปัญหาการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลกระทบในการตรากฎหมาย

Main Article Content

รัฐชฎา ฤาแรง
บุญมาก กันหาสาย
ณัฐนันท์ ทองทรัพย์
เฉลียว นครจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย ข้อมูลจากเว็ปไซต์         ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการประเมินผลกระทบในการ                ตรากฎหมาย ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา สรุปและข้อเสนอแนะ


จากการศึกษาวิจัยพบว่า กระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 77 วรรคสอง กำหนดให้  ก่อนการตรากฎหมาย รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ ซึ่งระบบนี้คือ ระบบ RIA หรือการประเมินผลกระทบในการออกกฎหมาย ที่มีต้นแบบมาจากสหรัฐอเมริกา โดยมีหลักการสำคัญ 3 ขั้นตอน คือ เผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณ เปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณ            และการเผยแพร่ร่างกฎหมายฉบับสุดท้าย แต่มีปัญหาว่า หน่วยงานที่เสนอร่างกฎหมายไม่เข้าใจในระบบ RIA                  และไม่มีหน่วยงานกลางที่ตรวจสอบคุณภาพของการรับฟังความเห็นสาธารณะของหน่วยงานราชการต่าง ๆ                     ซึ่งในต่างประเทศจะมีหน่วยงานกลางในการดูแลเกี่ยวกับการจัดทำการประเมินผลกระทบกฎหมาย เช่น สหรัฐอเมริกาสำนักงานประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เป็นหน่วยงานหลัก และออสเตรเลียมีสำนักงาน Best Practice Regulatory Office คอยดูแล อีกทั้ง มาตรา 77 วรรคสอง และ พรบ.หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์      ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 5 วรรคสามก็ไม่ได้กำหนดถึงขั้นตอนหรือระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นไว้เช่นกัน  ดังนั้นปัจจุบัน หากจะเสนอร่างกฎหมายการจัดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ต้องปฏิบัติตามมติรัฐมนตรี               ที่กำหนดให้การรับฟังความคิดเห็นต้องรับฟังผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานนั้นอย่างน้อย 15 วัน               ซึ่งมีความเห็นว่าน้อยเกินไปจึงทำให้ได้ข้อมูลจากประชาชนผู้ที่มีส่วนได้เสียไม่ครบทุกด้าน เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องตั้งหน่วยงานกลางที่ตรวจสอบคุณภาพของการรับฟังความเห็นของประชาชน กำหนดจำนวนระยะเวลาในการเปิดรับฟังความคิดเห็น 30 วัน และกำหนดจำนวนข้อมูลที่จะนำมาใช้ได้ต้องเก็บมาจากผู้แสดงความคิดเห็นไม่น้อยกว่า 500 คน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รัฐชฎา ฤาแรง, หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

บุญมาก กันหาสาย, หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

ณัฐนันท์ ทองทรัพย์, หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

เฉลียว นครจันทร์, หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

References

เดือนเด่น นิคมบริรักษ์. (2557).การวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย(Regulatory Impact Analysis (RIA). กรุงเทพมหานคร : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ ทีดีอาร์ไอ.
สุรชัย ตรงงาม.(2560). ภาคประชาชน เผยรัฐเปิดฟังความเห็นร่างกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ ขู่ฟ้องศาลเพิกถอนมติคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561, จาก https://ilaw.or.th/node/4547.
อรวรรณ เกษร.(2561). กระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : การเสนอร่างกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561, จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=1851
Thailaw. (2561). ขั้นตอนการร่างกฎหมาย. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561, จาก http://www.thailaws.com.