ผู้นำแบบจิตอาสาของนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกประจำการ กรณีศึกษา ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน

Main Article Content

สันติ เสลามาตย์
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะผู้นำแบบจิตอาสาของนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกประจำการ (2) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาจิตอาสาของนักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกประจำการ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารวิชาการและสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กับ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย นักทำลายใต้น้ำนอกประจำการที่ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน และประกอบอาชีพอิสระ จำนวน 9 คน     โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) คุณลักษณะผู้นำแบบจิตอาสาของนักทำลาย  ใต้น้ำจู่โจมนอกประจำการ เกิดจากการฝึกฝนทางทหารโดยหลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม ผ่านกระบวนการฝึกที่มีการสอดแทรกการมีจิตอาสาของคุณลักษณะผู้นำที่ดี 14 ประการ จนนำไปสู่การปลูกฝังทางจิตใจและร่างกายด้วยการหล่อหลอม              เข้าด้วยกันจนกลายมาเป็นนักทำลายใต้น้ำจู่โจมและติดตัวไปตลอดในการใช้ชีวิต (2) กระบวนการพัฒนาจิตอาสาของนักทำลายใต้น้ำ     จู่โจมนอกประจำการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ เตรียมความพร้อม การปลูกฝัง การสร้างและคัดกรอง และการประเมินผล ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต่อทีมหรือหน่วย นักทำลายใต้น้ำจู่โจมย่อมกลับมาช่วยทีมเสมอแสดงให้เห็นว่าทุกคนที่ผ่าน การฝึกนักทำลายใต้น้ำจู่โจมมาจากเบ้าหลอมตัวเดียวกันจะอยู่จุดไหนย่อมเป็นฉลามขาวแห่งเกลียวคลื่น ย่อมสู้ไปด้วยกัน ดังเช่นภารกิจค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จะอยู่ที่ใดก็กลับมาช่วยกันเพื่อทีมเพื่อหน่วยให้สำเร็จภารกิจ

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สันติ เสลามาตย์ , หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

รัตพงษ์ สอนสุภาพ, หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางสังคม ธุรกิจ และการเมือง วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

References

กรรณิกา มาโน. (2553). ความหมายของชีวิตกับจิตอาสา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฏฐุ์ชุดา สุภาพจน์ (2561). จิตอาสาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. 13(1): 78-88.
พระไพศาล วิสาโล. (2554). สุขอาสา แค่เปลี่ยนมาให้ความสุขก็เข้ามา. กรุงเทพมหานคร: iambookazine.
วาสานา นาน่วม. (2561). Super SEAL คนเหนือคน. กรุงเทพฯ: มติชน.
ศุภรัตน์ รัตนมุขย์. (2552). อาสาสมัคร: การพัฒนาตนเองและสังคม. ค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.gvc.tu.ac.th/th/download/expertise_service/expertise_service_2554/
sr_school_1/volunteer_(1).pdf
Giles, Dwight E. & Janet Eyler. (1998). A Service Learning Research Agenda for the Next Five Years. In Robert A. Rhoads and Jeffrey P.F. Howard. (eds.) Academic Service
Learning: a Pedagogy of Action and Reflection. New Directions For Teaching And Learning. 73 San Franciso: Jossey Bass.
Weigert, K.M. (1998). Academic Service Learning : Its Meaning and Relevance. New Directions for Teaching and Learning. San Francisco: Jossey-Bass