อิทธิพลคั่นกลางของความผูกพันของพนักงานที่เชื่อมโยงระหว่างภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการสู่พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานอุตสาหกรรมอัญมณี และเครื่องประดับในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

สุภเชษฐ์ เล็กคมแหลม
ธัญนันท์ บุญอยู่
มนสิชา สุจิตบวรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการ ความผูกพันของพนักงาน        และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงาน และ (2) ความผูกพันของพนักงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ          ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสัญชาติไทยที่ทำงานในอุตสาหกรรมอัญมณี          และเครื่องประดับ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 300 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า (1) พนักงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร      มีระดับของภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการ ความผูกพันของพนักงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงาน           มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69, 3.85 และ 3.83 ตามลำดับ และมีส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 0.776, 0.739 และ 0.760 ตามลำดับ และ (2) ความผูกพันของพนักงานเป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างภาพลักษณ์     ของผู้ประกอบการและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.517 และขอบเขตบนเท่ากับ 0.715


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

สุภเชษฐ์ เล็กคมแหลม, นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ธัญนันท์ บุญอยู่ , อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

มนสิชา สุจิตบวรกุล, ศูนย์ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ศูนย์ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักศึกษา มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

References

จิระพงค์ เรืองกุน. (2557). การสร้างแบรนด์นายจ้าง: กลยุทธ์การดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถสูง. วารสารวิทยาการจัดการ, 31(2), 187-209.
ณิชา คงสืบ. (2558). แรงจูงใจในการทำงาน วัฒนธรรมองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรที่มีผลต่อการทำงานเป็นทีม กรณีศึกษา: บริษัทลิสซิ่งแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลคั่นกลางของทุนโครงสร้างและการเป็นผู้ประกอบการในการถ่ายทอดทุนเชิงความสัมพันธ์สู่ผลิตภาพสำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(1), 41-53.
ศุภชัย รุ่งเจริญสุขศรี. (2559). การศึกษาความผูกพันในองค์กร การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ และความพึงพอใจในสวัสดิการพนักงานส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของพนักงานระดับปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Burawat, P. (2014). The relationships among perceived employer branding, employee engagement, and employee expectation in service industry. International Business Management, 9(4), 554-559.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Michal, M. & Katetina, M. (2018). Employer brand building: Using social media and career websites to attract generation Y. Economics & Sociology, 11(3), 171-189.
Owor, J. J. (2016). Human resource management practices, employee engagement and organizational citizenship behaviors (OCB) in selected firms in Uganda. African Journal of Business Management, 10(1), 1-12.
Peter, A. B. (2016). The impact of authentic leadership behavior on employee engagement and organizational ethical culture in Nigeria. Texas: Texas at Tyler University.
Safitri, R., Do, B. R., & Irawanto, D. W. (2017). Employer branding on brand citizenship behavior: Exploring the mediation of brand-person fit and brand commitment. Asia-Pacific Management and Business Application, 6(1), 29-40.
Valmikam, V., & Srikrishna, G. (2017). A study on employee engagement, organizational citizenship behavior in organizations with reference to fringe benefits. International Journal & Magazine of Engineering, Technology, Management and Research, 4(6), 562-565.