ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรณีศึกษาของบริษัทธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แห่งหนึ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร และปัจจัยประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทแห่งหนึ่ง (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบุคลากร จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบริษัทแห่งหนึ่ง (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพชีวิตกับประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ พนักงานบริษัทแห่งหนึ่งจำนวน 114 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรสองชุด การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรของบริษัทส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุต่ำกว่า 25 ปี มีระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้อยู่ในช่วง 15,000 - 20,000 บาท จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศและรายได้ที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานแตกต่างกัน ส่วนอายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพในการทำงานไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยปัจจัยด้านการทำงาน เป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ การที่บุคลากรมีเป้าหมายร่วมกันในการทำงานและการที่บุคลากรสามารถแสดงบทบาทและรู้สึกเต็มใจเมื่อต้องปฏิบัติงานร่วมกัน ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ องค์การที่องค์การมีความรับผิดชอบต่อสังคม การที่บุคลากรได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมและเพียงพอ และตำแหน่งงานมีความก้าวหน้าและความมั่นคง
Article Details
References
มนุษย์.วารสารบริหารธุรกิจและสังคม มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1(1).
กรรณิการ์ เหมือนประเสริฐ. (2548). ทัศนคติของพนักงานที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรบริษัทเควต ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด. สารนิพนธ์ปริญญา
บริหารธุรกิจ .มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชุติกาญจน์ อิงชัยภูมิ. (2557). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. สารนิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ณิศาภัทร ม่วงคำ. (2559). คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร : กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรีตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์การ คณะศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกริก.
ณัฐพร ฉายประเสริฐ. (2558). ตัวแบบการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของทีมงานที่มีความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดปทุมธานี.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. Vol. 5 No. 2, 46-57.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.อินเตอร์ พรินท์.
นุชรา การุณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน. ปัญหาพิเศษระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประสพชัย พสุนนท์. (2557). การวิจัยการตลาด. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พิชารัตน์ นุ่มสวัสดิ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานกลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องสำอางในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ไพโรจน์ บาลัน. (2545). ทักษะการบริหาร. กรุงเทพ ฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
มัลลิกา วิชชุกรอิงครัต. (2553). การศึกษาการทางานเป็นทีมของพนักงานครูเทศบาลสังกัดเทศบาลเมือง. วิทยานิพนธ์ ค.ม.ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลลิดา โกมลจันทร์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานและประสิทธิภาพการทำงาน : กรณีศึกษา ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตลพบุรี. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรปริญญา
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิชาเอกการจัดการทั่วไป. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ราเชน อิ่มใจ. (2551). การศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจฝ่ายสืบสวนในกองบังคับการกองปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
วิทยานิพนธ์ ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2549). การทำงานเป็นทีม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรากรณ์ ตระกูลสฤษดิ์. (2548). จิตวิทยาการปรับตัว. กรงเทพฯ :ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมพงศ์ รัตนนุพงศ์. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานศูนย์ข่าว SMM. สารนิพนธ์ปริญญาพัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศวัส ปฐมกุลนิธิ. (2560). ประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) สายงานเครือข่าย สาขาดิจิตอล ในเขต 7. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
อรสุดา ดุสิตรัตนกล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ศึกษาเฉพาะกรณีของบุคลากรส่วนกลาง. ศิลปศาสาตร์มหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิชาเอกการจัดการทั่วไป. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Walton, R. E. (1973). Quality of life at work: what is? Sloan Management Review.Cambridge.15 (1).11-21.