อิทธิพลของตัวแปรกำกับวัฒนธรรมองค์การที่เชื่อมโยงการแบ่งปันความรู้ และความคิดเชิงสร้างสรรค์สู่ผลการดำเนินงานสำหรับวิสาหกิจผ้าไหม ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย

Main Article Content

กนกอร บุญมาเกิด
ธัญนันท์ บุญอยู่
มนตรี พิริยะกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลทางอ้อมที่กำกับเส้นทางการแบ่งปันความรู้ไปสู่ผลการดำเนิน       งานขององค์การ และความคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ผลการดำเนินงานขององค์การด้วยวัฒนธรรมองค์การของวิสาหกิจผ้าไหมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจผ้าไหมในเขต         ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย จำนวน 100 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบัคมีค่าอยู่ระหว่าง 0.83-0.93 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม Process ผลการวิจัยพบว่า อิทธิพลทางอ้อมที่กำกับเส้นทางการแบ่งปันความรู้ไปสู่ผลการดำเนินงานขององค์การ และความคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ผลการดำเนินงานในทุกระดับของวัฒนธรรมองค์การที่มีค่าเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของวัฒนธรรมองค์การที่ต่ำ ปานกลาง และสูง และเมื่อวัฒนธรรมองค์การเข้ามาร่วมมีปฏิสัมพันธ์ที่มีค่าสูงขึ้นก็จะส่งผลให้ผลการดำเนินงาน        ขององค์การเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยจากผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ในการวางแผนและกำหนดกลยุทธ์          ในการส่งเสริมวิสาหกิจผ้าไหมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยให้มีผลการดำเนินงานที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

กนกอร บุญมาเกิด, หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ธัญนันท์ บุญอยู่ , หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

มนตรี พิริยะกุล, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). เส้นทางสายไหมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารกรมพัฒนาธุรกิจการค้า,0(56), 14-19.
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2561). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่. ค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2562, จาก http://www.diw. go.th/hawk/content.php?mode=data1search.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0: โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. ค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2563, จาก http://www. libarts.up.ac.th/v2/img/Thailand-4.0.pdf.
ณักษ์ กุลิสร์, ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สุพาดา สิริกุตตา, อุดม สายะพันธุ์, อรทัย เลิศวรรณวิทย์ และนงลักษณ์ โพธิ์ไพจิตร. (2558). การพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 6(1), 26-38.
ธัญนันท์ บุญอยู่, สุชารัตน์ บุญอยู่ และกนกอร บุญมาเกิด. (2563). อิทธิพลของการกล้าเผชิญความเสี่ยงที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฏิสัมพันธ์ระหว่างทุนมนุษย์สู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปรับอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 115-123.
มนตรี พิริยะกุล. (2556). การวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้างชนิด Second Order Model. วารสารการจัดการ คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 6(1), 97-111.
มาโนช ริทินโย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของวิสาหกิจชุมชนผ้าไหมทอมือจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24(1), 180-193.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดมุกดาหาร. (2562). ข้อมูลรายสินค้าปี 2562 การเลี้ยงไหมขายรังสด. มุกดาหาร: กลุ่มสารสนเทศการเกษตร.
หทัยรัตน์ บุณยรัตพันธุ์. (2558). ปัญหาของกลุ่มผ้าไหมมัดหมี่ในตำบลศรีบุญเรือง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 100-117.
Akgunduz, Y. (2015). The influence of self-esteem and role stress on job performance in hotel businesses. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 27(6), 1082-1099.
Ergun, E. (2018). The mediating role of empowerment on the relationship between organizational culture and innovation performance. Journal of Entrepreneurship and innovation Management, 7(1), 53-74.
Henseler, J., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2015). A new criterion for assessing discriminant validity in variance-based structural equation modeling. Journal of the Academy of Marketing Science, 43, 115-135.
Hussain, S. T., Abbas, J., Lei, S., Haider, M. J., & Akram, T. (2017). Transactional leadership and organizational creativity: Examining the mediating role of knowledge sharing behavior. Cogent Business & Management, 4, 1-11.
Joseph, O. O., & Kibera, F. (2019). Organizational culture and performance: Evidence from microfinance institutions in Kenya. Sage Open, 1-11.
Kucharska, W. (2017). Relationship between trust and collaborative culture in the context of tacit knowledge sharing. Journal of Entrepreneurship, Management and Innovation, 13(4), 61-78.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Marsh, H. W., Hau, K. T., Balla, J. R., & Grayson, D. (1998). Is more ever to much? The number of indicators per factor in confirmatory factor analysis. Multivariate Behavioral Research, 33, 181-220.
Quy, V. T. (2018). Organizational culture and firm performance: A comparative study between local and foreign companies located in Ho Chi Minh City. International Journal of Scientific Research and Innovative Technology, 5(2), 45-53.
Rezaee, G., & Amirianzadeh, M. (2017). Mediating role of knowledge management in the relationship of organizational culture with tejarat bank employees’ creativity in Shiraz branches. International Journal of Scientific Study, 5(4), 11-18.
Sipahi, E. (2017). Creativity and the importance of business management. International Journal of Scientific & Engineering Research, 8(8), 428-439.
Soori, Z., & Ferasat, H. (2016). The relationship between creativity and job performance khorramabad municipal departments. Journal of Applied Environmental and Biological Sciences, 6(3S), 192-198.
Sothan, Y. (2016). A study on correlation between leader-member exchange and employee creativity: The impacts of knowledge sharing and organizational commitment. International Review of Management and Business Research, 5(2), 688-704.
Zhao, H., Teng, H., & Wu, Q. (2018). The effect of corporate culture on firm performance: Evidence from China. China Journal of Accounting Research, 11, 1-9.