คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 2) ศึกษาปัจจัยประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด 3) ศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงาน ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ทำการศึกษาพนักงานบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ฝ่ายบริหารอาคารที่พักอาศัย (คอนโดมิเนียมและโครงการต่างจังหวัด) จำนวน 812 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของ ยามาเน่ 282 คน ใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรในการเก็บรวบรวม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test One-way ANOVA และ Multiple Regression ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 127 คน คิดเป็นร้อยละ 51.40 มีอายุ 31 - 40 ปี จำนวน 113 คน คิดเป็นร้อยละ 45.70 อายุงาน 1 - 5 ปี จำนวน 125 คน คิดเป็นร้อยละ 50.60 ตำแหน่งงานธุรการ/ช่างเทคนิคจำนวน 128 คน คิดเป็นร้อยละ 51.80 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวน 164 คน คิดเป็นร้อยละ 66.40 และรายได้ต่อเดือน 15,001 - 25,000 บาท จำนวน 133 คน คิดเป็นร้อยละ 53.80 และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์กรของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัดไม่แตกต่างกัน และคุณภาพชีวิตในการทำงานมีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 สมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ Y = 0.477 + 0.625(X2) + 0.250(X3) และในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = .565(X2) + 0.282 (X3) สามารถนำข้อมูลมาใช้ปรับปรุง และวางแผนในการพัฒนาเพิ่มความผูกพันต่อองค์กร บุคลากรสามารถรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงและร่วมมือกันพัฒนาให้องค์กรประสบความสำเร็จต่อไป
Article Details
References
โชติมา หนูพริก. (2553). การพัฒนาระบบประเมินการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2559). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
พงษ์เทพ เงาะด่วน. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) สำนักงานใหญ่ (ดอนเมือง). การคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
พิญาภรณ์ เต็งพานิชกุล. (2558). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางแค. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยสยาม.
ศิลาพร กันทา และชมภูนุช หุ่นนาค. (2562). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วารสารวไลยอลงกรณ์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9, 1: 120 - 134.
Arthur, M. B., Khapova, S. N., & Wilderom, C. P. M. (2005). “Career success in a boundaryless career world.” Journal of Organizational Behavior 26: 177 - 202.
Siriintranet. (2019). จำนวนพนักงานฝ่ายบริหารอาคารที่พักอาศัย (คอนโดมิเนียมและโครงการต่างจังหวัด) ของบริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด. Retrieved August, 20 2019, from https://www.siriintranet.com.
Yamane Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpe & row.