ประสิทธิผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งพระสงฆ์นักพัฒนา ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15

Main Article Content

พระมหาวิชัย แซ่ฉั่ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนา               ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนาในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 3)เพื่อศึกษาการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนาที่ยั่งยืนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป ได้แก่ กลุ่มเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์ กลุ่มเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม กลุ่มเจ้าสำนักนักเรียนที่ตั้งวิทยาลัยหรือวิทยา กลุ่มพระนักพัฒนา เน้นการสร้างสันติภาพแก่สังคมและพระนักพัฒนาที่มุ่งเน้น การพัฒนาชีวิตและสังคม ข้อมูลที่เก็บได้มาทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพได้เปิดเผยแทนข้อเท็จจริง ดังที่ระบุข้างล่างนี้


  1. ประสิทธิผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนา มีข้อสรุปมาจาก 1) ด้านการเผยแพร่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ด้านการพัฒนาชีวิตและสังคม ด้านการสร้างสันติภาพแก่สังคม ด้านการจัดการศึกษา และด้านการปกครอง 2) หลักพุทธธรรม 3) ยุทธศาสตร์การบริการจัดการ และ4)ความรู้เทคนิคการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์ 2. ประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพระสงฆ์นักพัฒนา มีข้อค้นพบมาจาก 1) ด้านความรู้ความสามารถทั้งทางปริยัติ และปฏิบัติพุทธธรรม 2) ด้านมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และ3) ด้านทักษะการเผยแผ่พุทธธรรมทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติเป็นอย่างดี 3. ข้อสรุปที่หน้าสนใจดังนี้ คือ 1) หลักสังคหวัตถุ 4 2) ภาวะผู้นำกับการการวิเคราะห์ตนเอง จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค 3) ดัชนีชี้วัดผลงานหรือความสำเร็จ และ4) การพัฒนาคุณภาพทั่วทั้งองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พระมหาวิชัย แซ่ฉั่ว , หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

References

พระครูใบฎีกาสะอาด ปญฺญาทีโป (ดิษฐสวรรค์). (2558). การพัฒนาการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์ในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในชุมชนในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 2. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระปลัดพีรัชเดช ฐิตวํโส (มหามนตรี). (2558). พุทธบูรณาการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขารัฐประศาสนศาสตร์). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พระครูปลัดเถรานุวัตร (สุเทพ ดีเยี่ยม). (2560). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายพระสงฆ์นักพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนภาคเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูสันติธรรมาภิรัต (บุญชัย สนฺติกโร). (2558). การพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 15. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การจัดการเชิงพุทธ). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศรีพัชโรดม (ลักษณะ กิตติญาโณ). (2560). รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต (พระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (พล อาภากโร) และคณะ (2557). การขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดหลักสูตรพระธรรมทายาท. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : คณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น) และคณะ (2556). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการและการสร้างเครือข่ายองค์กรพระพุทธศาสนาในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) : กรุงเทพมหานคร.
พระมหาสมเดช วงศ์ธรรม. (2559). พระสงฆ์นักพัฒนา : รูปแบบการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการจัดการพัฒนาชุมชนของพระสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์วัฒนธรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สรายุทธ์ เศรษฐขจร และพระครูภาวนาธรรมธารี (สัมพันธ์ นิศามณีรัตน์). (2559). รูปแบบการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พึงประสงค์ของคณะสงฆ์ภาค 12. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.