ส่วนประสมทางการตลาดบริการของวิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ตามมุมมองของนักเรียนมัธยมปลายในจังหวัดน่าน

Main Article Content

พลกฤต รักจุล

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการของวิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ตามมุมมองของนักเรียนมัธยมปลาย เขตพื้นที่จังหวัดน่านและ (2) เปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการของวิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ จำแนกตามแผนการเรียนเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมปลาย จำนวน9 โรงเรียนจาก7 อำเภอของจังหวัดน่าน จำนวนทั้งสิ้น 378 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาเพื่อหาค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมานวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)ผลการวิจัยพบว่าเป็นเพศหญิง จำนวน 274 คน คิดเป็นร้อยละ 72.5 และเพศชาย จำนวน 104 คน คิดเป็นร้อยละ 27.5แผนการเรียนสายวิทย์ – คณิตจำนวน 202 คน คิดเป็นร้อยละ 53.4 รองลงมาสายศิลป์ – คำนวณจำนวน 75คน คิดเป็นร้อยละ 19.8รองลงมาสายศิลป์– ภาษาจำนวน53 คน คิดเป็นร้อยละ 14.0 และอื่นๆจำนวน 48คน คิดเป็นร้อยละ 12.7ส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวม     อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ลักษณะทางกายภาพ บุคลากร กระบวนการให้บริการ ด้านราคา และด้านส่งเสริมการตลาด ผลการเปรียบเทียบส่วนประสมทางการตลาดบริการจำแนกตามแผนการเรียนที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อส่วนประสมทางการตลาดบริการในภาพรวมไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านราคาที่มีความแตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พลกฤต รักจุล, หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยน่าน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2537. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธเนศ ขำเกิด. (2549). Blog:เครื่องมืออันทรงพลังของ KM. วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น), 33, (190), 80-83.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด.
สมจิตร ล้วนจำเริญ. (2541).พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. psychometrika, 16 (3), 297-334.
Gourary, B. S., & Adrian, F. J. (1960). Wave functions for electron-excess color centers in alkali halide crystals. In Solid State Physics (Vol. 10, pp. 127-247). Academic Press.
Kotler, P. H. (2003). A Framework for Marketing Management–Prentice Hall. New Jersey.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 ed.7). New York: Harper and Row Publication.