ผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของครูผู้สอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,4,5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,4,5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

Main Article Content

รวงทอง ถาพันธุ์
พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อติดตามการส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของโรงเรียนในสังกัด 2) เพื่อทราบผลการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ สาระที่ 4 เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ของครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1,2,4,5 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1,2,4,5 และ 3) เพื่อสะท้อนผลลักษณะพฤติกรรม ทักษะการคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบของนักเรียน โดยมีวิธีการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) พารู้ โดยวิเคราะห์สภาพปัญหา สะท้อนผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน 2) พาเข้าใจ โดยกำหนดจุดประสงค์ กำหนดวิธีการปฏิบัติทิศทางการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา โครงสร้างหลักสูตรชั้นปี รหัสรายวิชาวิทยาการคำนวณ การเขียนคำอธิบายรายวิชา และออกแบบการจัดการเรียนรู้ 3) พาพัฒนา โดยลงมือปฏิบัติการวิจัยและสรุปประเมินผลการปฏิบัติงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สำนักงานเขตพื้นที่บริการส่งเสริมและสนับสนุนที่สร้างความเข้าใจให้โรงเรียนทำการวิจัย  ครูโรงเรียนขนาดเล็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-5 สอนด้วย DLTV และครูในโรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไปมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ในการออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสำหรับเด็กอายุน้อย และผลของพฤติกรรมนักเรียนส่งผลให้มีความคิดอยากรู้อยากเห็นกระตือรือร้นมีส่วนร่วมแบ่งปันสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ที่มุ่งมั่นและสนุกสนาน นอกจากนี้ยังพบว่านักเรียนชอบสร้างชิ้นงานและการคิดอย่างเป็นระบบ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยของครูเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ควรพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเชื่อมโยงและบูรณาการการแก้ปัญหา การส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณกระบวนการทำงานการนำไปใช้ในชีวิตจริง

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

รวงทอง ถาพันธุ์ , คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์ , สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560)ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พิชญ์ อำนวยพร และคณะ.(2562).การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประเภทเกมโดยใช้กลยุทธ์เกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562, จาก http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jedu/article/view/12165.
พิชญ์อนงค์ ผดุงศิลป์ไพโรจน์.(2562) การนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน. เพชรบูรณ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2
ระติวรรณ สุขศิริ และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2560). การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานการศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 27-28 มีนาคม 2561 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.