ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

Main Article Content

สุกัญญา นิ่มพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานวิชาการ และระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 2)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่ง ผลกับการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวม 2,812 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 350 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการบริหารงานวิชาการ และระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงและระดับปานกลาง (0.53 - 0.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 66.00 เมื่อนำมาสร้างสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.45 + 0.26X4 + 0.14X1 + 0.15X5 + 0.23X2 + 0.11X6 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน = 0.271Z4 + 0.18Z1 + 0.17Z5 + 0.21Z2 + 0.15Z6

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สุกัญญา นิ่มพันธุ์ , สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

References

เขษมสร โข่งศรี และชัยรัตน์ บุมี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขนาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ: หจก. นวสาส์นการพิมพ์.
ปวีนา เหล่าลาด. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. (2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนูญ พันธ์หล่อ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2554). การบริหารจัดการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: บริษัท นำศิลป์โฆษณา จำกัด.
วิทูร ครุฑจันทร์. (2554). ความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
ศิราณี มะแอ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ สวนกุกลาบ ปทุมธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยบูรพา.
สมเกียรติ มาลา. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล สังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยกำแพงเพชร.
สุขคะเสริม สิทธิเดช และ ธร สุนทรายุทธ. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดแผนกศึกษาธิการแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 9(1), 96 – 106.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.