อิทธิพลของคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงานของพนักงานบริษัท ในกลุ่มธุรกิจผ้าใยสังเคราะห์ในเขตอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

Main Article Content

สุกัญญา นันทะจันทร์
สุมาลี รามนัฏ
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของแรงจูงใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน และความสุขในการทำงาน 2) คุณภาพชีวิตในการทำงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานสู่ความสุขในการทำงาน และ 3) ความพึงพอใจในการทำงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างแรงจูงใจในการทำงานและความสุขในการทำงาน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานในบริษัทกลุ่มธุรกิจผ้าใยสังเคราะห์แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง จำนวน ทั้งสิ้น 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงาน และความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44, 3.43, 3.54 และ 3.48 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.798, 0.740, 0.720 และ 0.762 ตามลำดับ 2) แรงจูงใจในการทำงาน คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงต่อความสุขในการทำงานมีค่าเท่ากับ 0.134, 0.281 และ 0.526 ตามลำดับ และแรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลทางอ้อมต่อความสุขในการทำงาน โดยมีค่าเท่ากับ 0.656 3) แรงจูงใจในการทำงาน มีอิทธิพลทางตรงต่อความพึงพอใจในการทำงาน และคุณภาพชีวิตในการทำงาน มีค่าเท่ากับ 0.826 และ 0.789 ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า คุณภาพชีวิตในการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงานเป็นตัวเชื่อมโยงแรงจูงใจในการทำงานสู่ความสุขในการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญฤทัย นาคดี. (2557). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

ณัฐชนันท์พร ทิพย์รักษา. (2556). แรงจูงใจในการทำงาน ความบ้างาน และความสุขในการทำงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ),สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐธยาน์ น้อยคำลือ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับคุณภาพชีวิตของข้าราชการครูในโรงเรียน กลุ่มปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา).มหาวิทยาลัยบูรพา.

นฤมล แสวงผล. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานกับการรักษาความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรต่างวัย: กรณีศึกษาบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกําลังสองน้อยที่สุดบางส่วน Partial Least Square Path Modeling (PLS Path Modeling). ใน การประชุมวิชาการสถิติและสถิติประยุกต์ครั้งที่11 ประจำปี 2553 มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรันธร ทรงเกียรติศักดิ์. (2558). ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยความปลอดภัย และปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงานและหน่วยสนับสนุนของโรงงานน้ำตาล สหเรือง จํากัด จังหวัดมุกดาหาร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2564). ข้อมูลจากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.oie.go.th.

Diener, E. (2003). Frequently asked questions (FAQ’S) about subjective well-being (Happiness and life satisfaction). Retrieved July 25, 2021, from https://www.psych.uiuc.edu/nedie ner/fag.html.

Smith, P. C., Kendall, L. M., & Hulin, C. L. (1969). The measurement of satisfaction in work and retirement. Chicago: Rand McNally.