แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนโรงเรียนกวดวิชา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี

Main Article Content

กรรณิการ์ เกตุบำเพ็ญ
สมกูล ถาวรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะหลัก ของครูผู้สอนโรงเรียนกวดวิชา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ของครูผู้สอนโรงเรียนกวดวิชา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูที่สอนในโรงเรียนกวดวิชาจำนวน 175 คน ได้มาโดยการเปิดตารางสำเร็จรูปของ  Krejcie & Morgan โดยสุ่มอย่างง่ายเพื่อหาสัดส่วนของแต่ละโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ,ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะหลักของครูผู้สอนโรงเรียนกวดวิชา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี โดยภาพรวมมีความสามารถในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (=4.20) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน (=4.46) รองลง มาคือ ด้านการบริการที่ดี (=4.20) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู (=4.08) 2)  แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของครูผู้สอนโรงเรียนกวดวิชา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี ได้แก่ พัฒนาให้ครูสามารถวิเคราะห์ภารกิจงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อวางแผนในการสอน ครูให้ความรู้ด้วยความเต็มใจและมีความสุขในการสอน สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองทั้งในและนอกสถานที่ มีน้ำใจและช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานตามโอกาสที่เหมาะสม และปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่และมีความรับผิดชอบในวิชาชีพ


        

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมา ช่วยยิ้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการสร้างความสุขในการทำงานของผู้บริหาร และครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 2. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5 (6), 197.

กวินทร์เกียรติ นนธ์พละ. (2559). การพัฒนาศักยภาพข้าราชการครูในศตวรรษที่ 21 ของกระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 59, วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

กัญญ์วรา ผลเจริญ. (2559). การศึกษาสมรรถนะหลักของครูโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21 : ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ. วารสาร Journal of HRintelligence, สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12 (2) ,57-58.

ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี. (2560). การประยุกต์ใช้สมรรถนะ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 11 (1), 267.

ธนิกานต์ สุขวัฒน์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของบุคลากรครูที่ปฏิบัติงานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

บันเย็น เพ็งกระจ่าง. (2561). การพัฒนาครูเพื่อการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนสารสาสน์วิเทศคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเกริก.

ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงานในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยนเรศวร.

พงษ์ศักดิ์ ด้วงทา. (2558). การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูโรงเรียนเอกชน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลกเขต 1. วารสาร Veridian E-Journal ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 8(3), 911.

พรรษภรณ์ มูลวงค์. (2558). สมรรถนะของครูโรงเรียนในกลุ่มวิชาการที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระครูสุตวรธรรมกิจ. (2563). การพัฒนาครูไทยสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 5 (2), 24.

สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2546). การวิจัยทางการศึกษา. ลพบุรี: สถาบันราชภัฎเทพสตรี

อริสา นพคุณ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Cronbach, L.J. (1971). Essentials of Psychological Testing. 5th ed. New York : Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.