ปัจจัยด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง

Main Article Content

อิสระ สุขศานต์
สุมาลี รามนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 2) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรมีอิทธิพลที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งในอุตสาหกรรมรถยนต์ จังหวัดระยอง โดยงานวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ในอุตสาหกรรมยานยนต์จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ตามแนวคิดของมนตรี พิริยะกุล (2553) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยสถิติเชิงพรรณนาที่หาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และประสิทธิภาพการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.88, 4.07, 3.82 และ 4.07 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.842, 0.807, 0.874 และ 0.696 ตามลำดับ 2) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางมีอิทธิพลระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการทำงาน 3) ความพึงพอใจในงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางมีอิทธิพลระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ผู้วิจัยพบว่า ทั้งสามปัจจัยนี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีการสรรหาพนักงานที่เหมาะสมเกิดความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานของพนักงานนำมาซึ่งประสิทธิภาพการทำงานก็จะทำให้องค์กรเกิด            ความได้เปรียบในการแข่งขันกับธุรกิจในปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2561). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การและประสิทธิภาพ ในการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

มารุต มณีสถิต. (2558). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจลาออกของพนักงานในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ. ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บริหารธุรกิจอุตสาหกรรม, วิทยาลัยการบริหารและจัดการ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่บางส่วน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รินดา ขันธกรรม. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน กลุ่มภาคกลาง. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการทั่วไป), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

เสาวณี จันทะพงษ์, ชฎาธาร โอษธีศ และนักวิจัยเครือข่าย CU-ColLR. (2563). พลิกวิกฤตยานยนต์ไทยด้วยการยกระดับทักษะแรงงาน. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2021, จาก https://www.bot .or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_15Sep2020.aspx.

Abdullah, A. A., & Wan, H. L. (2013). Relationships of non-monetary incentives, job satisfaction and employee job performance. International Review of Management and Business Research, 2(4), 1085-1091.

Aman, Q., Noreen, T., Khan, I., Ali, R., & Yasin, A. (2018). The impact of human resource management practices on innovative ability of employees moderated by organizational culture. International Journal of Organizational Leadership, 7, 426-439.

Ambad, S. N. A., & Bahron, A. (2012). Psychological empowerment: The influence on organizational commitment among employees in the construction sector. Journal of Global Business Management, 8(2), 73-81.

Bushra, F., Ahmad, U., & Naveed, A. (2011). Effect of transformational leadership on employees' job satisfaction and organizational commitment in banking sector of Lahore (Pakistan). International journal of Business and Social science, 2(18). 261-267.

Dwivedula, R. (2019). Human Resource Management in Project Management: Ideas at the CUSP. European Project Management Journal, 9(1), 34-41.

Hair Jr, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Gudergan, S. P. (2018). Advanced issues in partial least squares structural equation modeling. Sage publications.

Islam, M. S., Sarker, J., & Islam, M. M. (2018). Influence of HRM Practices on Employee Job Satisfaction: Evidence from Private Commercial Banks in Bangladesh. Global Journal of Management and Business Research, 18(3). 22-28.

Jawaad, M., Amir, A., Bashir, A., & Hasan, T. (2019). Human resource practices and organizational commitment: The mediating role of job satisfaction in emerging economy. Cogent Business & Management, 6, 1-22.

Jayaweera, T. (2015). Impact of work environmental factors on job performance, mediating role of work motivation: A study of hotel sector in England. International journal of business and management, 10(3), 271-278.