การพัฒนาอาชีพในองค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่าง ความ สามารถในการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิว เอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด1 จังหวัดระยอง

Main Article Content

วริศรา ปัญญาชีวะ
สุมาลี รามนัฏ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในงาน การพัฒนาอาชีพในองค์การ และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน 2) การพัฒนาอาชีพในองค์การที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความสามารถในการปฏิบัติงานและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน และ 3) การพัฒนาอาชีพในองค์การ    ที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่าง ความพึงพอใจในงานและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด1 จังหวัดระยอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานของบริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด1 จังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ตามแนวคิดของมนตรี พิริยะกุล (2553) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสถิติใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในงาน การพัฒนาอาชีพในองค์การ และประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12, 3.95, 3.90 และ 4.20 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.475, 0.561, 0.597 และ 0.528 ตามลำดับ 2) ปัจจัยความสามารถในการปฏิบัติงาน ความพึงพอใจในงาน และพัฒนาอาชีพในองค์การ มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน มีค่าเท่ากับ 0.357, 0,247 และ 0.277 ตามลำดับ โดยที่ความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานมีค่าเท่ากับ 0.136 และ 0.114 3) ปัจจัยความสามารถในการปฏิบัติงาน และความพึงพอใจในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อการพัฒนาอาชีพในองค์การ มีค่าเท่ากับ 0.490 และ 0.410 ตามลำดับ ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการปฏิบัติงาน ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพในองค์การ และในทำนองเดียวกันความพึงพอใจในงานก็ส่งผลให้เกิดการพัฒนาอาชีพในองค์การเช่นกัน การพัฒนาอาชีพในองค์การของพนักงานเป็นตัวแปรสำคัญที่ก่อเกิดประโยชน์โดยตรงกับการประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2563). รายงานสถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจการแรงงานระหว่างประเทศและการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศ ไตรมาสที่ 4/2563. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก http://warning.mol.go.th/uploadFile/pdf/pdf-2021-02-18-1613635155.pdf

กิตติยา ฐิติคุณรัตน์. (2556). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทซันไชน์อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ), มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

นพรัตน์ สุขเทียม. (2560). สมรรถนะในการปฏิบัติงานที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท คอนโทรลอจิค จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่บางส่วน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนันธิดา สุรังษี. (2558). ผลของรูปแบบภาวะผู้นำและความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของหัวหน้างานรับกลาง โรงงานอุตสาหกรรมประกอบรถยนต์. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิรักษ์ ตั้งธนวัฒน์. (2562). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัทจำหน่ายที่นอนและชุดเครื่องนอนย่านบางนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ), มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

Adecco Thailand. (2020). Top 10 Skills of 2025 form World Economic Forum. Retrieved July 25, 2021, from https://adecco.co.th/th/knowledge-center/detail/10-skills-for-2025.

International labour organization. (2020). LO Monitor: COVID-19 and the world of work. Retrieved May 10, 2021, from https://www.ilo.org/

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology,140, 5-53.

Soukayna M. (2019). The Effects of Career Development on Job Performance: Master. Journal of Human Resource Studies, 25-30.

Saleem, Y., Kamran, M. R., Sabir, F., & Iqbal, J. (2013). Career development an imperative of job satisfaction and career commitment: Empirical evidence from Pakistani employees in banking sector. Career Development, 5(21), 108-118.