ความผูกพันในองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมองค์กรและการบริการทรัพยากรมนุษย์สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กแห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2) ความผูกพันในองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงวัฒนธรรมองค์กรสู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 3) ความผูกพันในองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงการบริหารทรัพยากรมนุษย์สู่ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ พนักงานบริษัทอุตสาหกรรมผลิตเหล็กแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง จำนวน 276 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ความผูกพันในองค์กร วัฒนธรรมองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.10, 4.43, 3.95, และ 4.43 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.921, 0.683, 0.961, และ0.882 ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีผลโดยรวมต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า ความผูกพันในองค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และวัฒนธรรมองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีค่าเท่ากับ 0.507, 0.244 และ 0.028 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กร พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กร และวัฒนธรรมองค์กร มีค่าเท่ากับ 0.619 และ 0.266 แสดงให้เห็นว่าความผูกพันธ์ในองค์กร และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจากการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้น ในการพัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นควรมุ่งเน้นความผูกพันธ์ ของบุคลากรในองค์กร รวมทั้งการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นหลัก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กิตติยาวดี พุทธอ้อม. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัท แอ๊ดด้า ฟุตแวร์ (ไทยแลนด์) จำกัด. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ณัฐวรา ชมแก้ว, ธนายุ ภู่วิทยาธร, และนิตย์ หทัยวสีวงศ์ สุขศรี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารวิทยาการจัดการ, 4(2), 89-116.
ธัญญ์วาริน จันทรา. (2563). วัฒนธรรมองค์กรมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ประเภทข้าวและอาหาร ในเครือเจริญโภคภัณฑ์. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นรุตต์ ทรงฤทธิ์. (2563). วัฒนธรรมองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 18(2), 41-53.
ลดาพร เอกพาณิช, ลัสดา ยาวิละ, และรัตนา สิทธิอ่วม. (2563). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของพนักงานสายบริการมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(1), 58-74.
ศศิวิมล ทุมวัน. (2560). ปัจจัยเชิงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์การของข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 2. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ศิริพงศ์ สมพีรพันธุ์. (2560). กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สมคิด บางโม. (2560). การบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
Daneshmandnia, A. (2019). The influence of organizational culture on information governance effectiveness. Records Management Journal, 29(1/2), 18-41.
Delaney, J. T., & Huselid, M. A. (1996). The impact of human resource management practices on perceptions of organizational performance. Academy of Management journal, 39(4), 949-969.
Gallup, C. (2010). State of the American Workplace Employee Engagement Insights for U.S. Business Leaders. Washington, D. C.: Gallup.
Guest, D. E. (1997). Human resource management and performance: a review and research agenda. International journal of human resource management, 8(3), 263-276.
Hair Jr, J. F., Sarstedt, M., Ringle, C. M., & Gudergan, S. P. (2018). Advanced issues in partial least squares structural equation modeling. Sage publications.
Hewitt, A. (2004). Employee Engagement Higher at Double-Digit Growth Companies. Double Digit Growth and Engagement. Retrieved August 15, 2021, from http://www.hewittassociates.com/Intl/NA/en-US/Default.aspx.
Lubis, F. R., & Hanum, F. (2020, December). Organizational culture. In 2nd Yogyakarta international conference on educational management/administration and pedagogy (YICEMAP 2019). Atlantis Press (pp. 88-91).
Osborne, S., & Hammoud, M. S. (2017). Effective employee engagement in the workplace. International Journal of Applied Management and Technology, 16(1), 4.
Otoo, F. N. K. (2020). Measuring the impact of human resource management (HRM) practices on pharmaceutical industry's effectiveness: the mediating role of employee competencies. Employee Relations: The International Journal. Retrieved July 2, 2021, from https://www.emerald.com/insight/0142-5455.htm
Rana, S., Pant, D., & Chopra, P. (2019). Work engagement and individual work performance: Research findings and an agenda for employee relationships. Journal of Emerging Technologies and Innovative Research, 6(5), 17-32.
Taro Yamane. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.
Wahyuningsih, S. H., Sudiro, A., Troena, E. A., & Irawanto, D. (2019). Analysis of organizational culture with denison’s model approach for international business competitiveness. Problems and perspectives in management, 17(1), 142-151.