ภาวะผู้ตามกรณีการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน

Main Article Content

ชลธี ดวงเสนา
ศรัณย์ ธิติลักษณ์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้ตามของหน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน อาสาสมัคร และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงที่เข้าร่วมในการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยช่วยเหลือ 13 เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่า ที่ถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน  ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากเอกสารข้อมูลพื้นฐาน เอกสารการรายงานการปฏิบัติการ ข้อมูลจากสื่อ สิ่งพิมพ์ และการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วยข้าราชการ บริษัทเอกชน อาสาสมัคร และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยช่วยเหลือช่วยเหลือ 13 เยาวชนทีมฟุตบอลหมูป่า จำนวน 24 คน ทำการวิเคราะห์ โดยอาศัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาการวิเคราะห์ อ่านผล ตีความ และหาข้อสรุปเปิดเผยแทนข้อเท็จจริง ผลการศึกษาพบว่า ภาวะผู้ตามกรณีการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน จำแนกกลุ่มผู้เข้าร่วมปฏิบัติการตามคุณลักษณะภาวะผู้ตามแนวคิดของ Kelly ออกเป็นกลุ่มดังนี้ คือ (1) กลุ่มข้าราชการ มีคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล (Effective followship) (2) กลุ่มบริษัทเอกชนมีคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบปรับตาม (Conformist followship) (3) กลุ่มอาสาสมัครที่เข้าร่วม มีคุณลักษณะภาวะผู้ตาม 2 รูปแบบ คือ คุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล (Effective followship) และคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด (Pragmatic survivor) และ (4) กลุ่มประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง มีคุณลักษณะภาวะผู้ตามใน 2 รูปแบบ คือคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบ มีประสิทธิผล (Effective followship) และคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบปรับตาม (Conformist followship) ซึ่งสรุปได้ว่าในกรณีการปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน พบคุณลักษณะภาวะผู้ตามแนวคิดของ Kelly รวม 3 รูปแบบ คือ คุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล (Effective followship) คุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบปรับตาม (Conformist followship) และคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบเอาตัวรอด (Pragmatic survivor)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประเสริฐ สมพงษ์ธรรม. (2537). การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของศึกษาธิการจังหวัดที่สัมพันธ์กับ
ประสิทธิผลองค์การสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด. ดุษฎีนิพนธ์บัณฑิต, สาขาการบริหาร
การศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สามารถ อัยกร และคณะ. (2560). บทบาทของผู้ตามในคุณลักษณะภาวะผู้ตามแบบมีประสิทธิผล.
วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 9(1), 195-203.
Bass, B. M. (1981). Stogdill’s Hand Book of Leadership: A Survey of Theory and Research.
New York: The Free Press.
Kelley, R. E. (1992). The power of followership. New York: Doubleday.