การพัฒนากิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ดุษฎี สงวนศักดิ์
กรัณย์พล วิวรรธมงคล
ศุภลักษณ์ สัตย์เพริศพราย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพกิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน  เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (R & D : Research and Development)  และเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods  Research) กลุ่มตัวอย่าง  คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 จากโรงเรียนเกียรติวัธนเวคิน 2 (วัดปลักเขว้า) โรงเรียนบ้านสระลุมพุก และโรงเรียนบ้านหนองขุย จำนวน 22 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบอาสาสมัคร  (Volunteer Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) คู่มือการจัดกิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 2) แบบประเมินคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ได้แก่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย  (x) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมี 8 ฐาน การเรียนรู้และมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก (100/60) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนด (80/60) และ 2)  กิจกรรมค่ายตามรอยศาสตร์พระราชาโดยใช้แหล่งเรียนรู้เป็นฐาน เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียงของนักเรียนระดับประถมศึกษา มีประสิทธิผลโดยผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 60 ทุกฐานการเรียนรู้ ทั้ง 3 ด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนำศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ขับเคลื่อนศาสตร์พระราชาในสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ดาราวรรณ อานันทนสกุล. (2547). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทศพร ไกรฤกษ์. (2550). ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมค่ายวิชาการวชิรมงกุฎด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ศึกษากรณีโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัศนภรณ์ แสงศรีเรือง. (2548). ผลของกิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558).วิธีวิจัยทางการศึกษา (ครั้งที่ 9). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การส่งเสริมวิถีประชาธิปไตยผ่านกิจกรรมค่าย. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ และทักษะสังคมสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อมรา ชวนขยัน. (2552). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมเรื่องแหล่งเรียนรู้ในเขตเทศบาลตำบลหนองขาว. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา
ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.