ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ทัตเทพ ทวีไทย
ชุดาพร สอนภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาปัจจัยด้านพฤติกรรมในการฝึกอบรม 3) ศึกษาปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด 4) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการในการฝึกอบรม 5) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดนครปฐม จำนวน 330 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31 - 40 ปี สถานภาพโสด ประสบการณ์ในการทำงาน 1-5 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งงานครู 2) ปัจจัยด้านพฤติกรรมในการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สนใจเข้ารับบริการฝึกอบรมในหลักสูตรที่สนใจ โดยสนใจหลักสูตรนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการอบรมน้อยกว่า 3,000 บาท สนใจฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ช่วงเดือนเมษายน–มิถุนายน ระยะเวลาฝึกอบรม 1 วัน วันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ช่วงเวลา 9.00–16.00 น. ฝึกอบรมภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้ส่งหนังสือไปที่ต้นสังกัด 3) ปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด ให้ความสำคัญสูงสุด ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย 4) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ สถานภาพ ประสบการณ์ ระดับการศึกษา และตำแหน่งมีผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุมีผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 5) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการในการฝึกอบรมในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านพฤติกรรมในการฝึกอบรม ได้แก่ ช่วงเวลา รูปแบบการฝึกอบรมการประชาสัมพันธ์ ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม และปัจจัยด้านส่วนผสมทางการตลาด ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านกระบวนการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริสวัฒน์ บุญญะสิทธิ์. (2554). ความต้องการในการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพครูของครูผู้สอน ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 2.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 3 (3), 116–122.
จิตรานุช น้อยสุทธฺสกุล, นเรศ สิงห์ครามเขต และจารุวัตร์ จิตตเสถียร. (2557).ปัจจัยที่มีผลต่อการให้บริการวิชาการของศูนย์บริการวิชาการแบบจัดหารายได้. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563, จาก http://repository.rmutr.ac.th/handle/123456789/359
จุรีวรรณ จันพลา, (2559), การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมทางด้านบริหารธุรกิจของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 8 (2), 76-87.
ทักดนัย เพชรเภรี, ฉันทนา จันทร์บรรจง, วิทยา จันทร์ศิลา และสำราญ มีแจ้ง. (2556). การพัฒนารูปแบบการธำรงรักษาบุคลากรครูในโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 15 (ฉบับพิเศษ), 8-19.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.อินเตอร์ พรินท์.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). ทความด้าน HR. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: รัตนไตร.
ประสบชัย พสุนนท์. (2557). การวิจัยการตลาด. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2562). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2562, จาก https://www.nesdb.go.th/download/plan12.
สิริภักตร์ ศิริโท และสวรรยา สมานวิจิตร, (2555), การประเมินความต้องการที่จำเป็นในการฝึกอบรมของฝ่ายปฏิบัติการเรือ.วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 9 (2), 20-49.
เสาวลักษณ์ ลังการ์พินธ์, ฤตินันท์ สมุทร์ทัย, เกียรติสุดา ศรีสุข, และสร้อยสุดา วิทยากร, (2560), การประเมินความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพโดยใช้โยคะเพื่อพัฒนาเด็กที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการระบบประสาท.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 12 (2), 77-91.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1. (2562). ข้อมูลขนาดโรงเรียน.กลุ่มงานเลขานุการ.กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา. สืบค้น 16 มิถุนายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/gssmhk1/khxmul-khnad-rongreiyn
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2562, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=101709.
อัคพงศ์ สุขมาตย์, (2560), การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยยึดถือภารกิจและพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นฐาน ด้วยระบบ TEPE Online.วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. 7(2), 38-55.
McLagan, Patricia A. (1989). Models of HRD Practice. Training and Development Journal. 43, 9.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York. Harper and Row Publications.