การบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ของกรมการขนส่งทางบกในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

พราวพิชชา เถลิงพล

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก และ3)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างจำนวน 230 คน โดยใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบกในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง พบว่า ภาพรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทุกด้านมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โดยด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสูงสุด (r = . 926) และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงร่วมกันทำนายต่อการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบกในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (R2= 0.916, R2adjusted= 0.632, F=544.5, p< 0.001)3. ข้อเสนอแนะจากความต้องการของผู้ใช้บริการมีมากขึ้น ผู้ให้บริการรับจ้างมีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องดำเนินการแก้ไขตามระเบียบ มาตรการ ข้อบังคับทางกฎหมายของกรมการขนส่งทางบกในการกำกับดูแลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

พราวพิชชา เถลิงพล , มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1)เพื่อศึกษาการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก 2)เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก และ3)เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค พร้อมทั้งข้อเสนอแนะการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้างจำนวน 230 คน โดยใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t - test ค่า F - test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์การบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบกในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งการเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง พบว่า ภาพรวม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทุกด้านมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง โดยด้านความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสูงสุด (r = . 926) และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงร่วมกันทำนายต่อการบริหารจัดการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุของกรมการขนส่งทางบกในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร (R2= 0.916, R2adjusted= 0.632, F=544.5, p< 0.001)3. ข้อเสนอแนะจากความต้องการของผู้ใช้บริการมีมากขึ้น ผู้ให้บริการรับจ้างมีทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงต้องดำเนินการแก้ไขตามระเบียบ มาตรการ ข้อบังคับทางกฎหมายของกรมการขนส่งทางบกในการกำกับดูแลต่อไป

 

References

กรมการขนส่งทางบก. (2562). สถิติผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะที่ได้รับใบอนุญาต. กลุ่มสถิติการขนส่ง. กองแผนงานกรมการขนส่งทางบก.
กรมการขนส่งทางบก (2558). แผนยุทธศาสตร์กรมการขนส่งทางบก พ.ศ. 2559-2563. กองแผนงาน. กรมการขนส่งทางบก.
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2554).แผนที่นำทางเชิงกลยุทธ์ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน พ.ศ. 2554-2563. กรุงเทพฯ:กระทรวงมหาดไทย.
กองแผนงาน กรมการขนส่ง. (2558). สรุปรายงานจำนวนรถแยกประเภทรถที่จดทะเบียน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558. กรุงเทพฯ: กรมการขนส่ง.
กาญจน์กรอง สุอังคะ.(2559).วิจัยเรื่องการศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ของวัยรุ่นที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถจักรยานยนต์. สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ตรีอมร วิสุทธิศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของผู้ขับขี่ รถจักรยานยนต์รับจ้างในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นัพวุฒิ ชื่นบาลและคณะ (2556). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ รับจ้างในพื้นที่เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร. สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
บัณฑิต ตั้งกมลศร (2559). ศึกษาวิจัยเรื่องปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการขับขี่ปลอดภัยของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตภาคเหนือ : วิเคราะห์กลุ่มพหุ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิเกียรติ จันต๊ะคาด. (2560). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อ พฤติกรรมการซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุจิตรา บุญยรัตพันธุ์. (2546). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับรัฐประศาสนศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อุไร จำปาวะดี. (2555). การพัฒนาตัวแบบการลดพฤติกรรมเสี่ยงในการป้องกันอุบัติเหตุจาก รถจักรยานยนต์ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Dorn, L. (2010). Individual and group differences in driving behavior. Retrieved from http://thailis.uni.net.th/dao/detail.nsp.
La Torre et al. (2002). Epidermiology of accidents among users of two-wheeled motor vehicles. A surveillance study in two italian cities. Eur J Public Health, 12(2), 99-103.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner’s guide to structural equation modeling (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.