ผลการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา

Main Article Content

ศรัญญา เมืองพูล
กรัณย์พล วิวรรธมงคล
พงษ์ศักดิ์ รักษาเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษจากกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active  Learning  โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ของนักเรียนระดับประถมศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความสุขในการเรียนรู้จากกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active  Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นของนักเรียนระดับประถมศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  โรงเรียนชุมชนบ้านหลุมรัง จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 63 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) คู่มือจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษา 2)  แบบประเมินความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษ และ 3) แบบประเมินความสุขในการเรียนรู้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษตามแนว Active Learning โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมี 8 ฐานการเรียนรู้ มีคุณภาพคิดเป็นร้อยละ 83.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 80 2) ความสามารถการสื่อสารภาษาอังกฤษด้านทักษะ การฟังและทักษะการพูดคิดเป็นร้อยละ 84.70 อยู่ในระดับดีมาก และ 3) ความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนคิดเป็นร้อยละ  83.17 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกศสุดา ปงลังกา. (2550). การศึกษาการใช้กิจกรรมบทบาทสมมุติในการพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณีราวรรณ จิตตรีนิตย์. (2552). ผลการจัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะการพูดเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนกลุ่มกิจกรรมพิเศษระดับประถมศึกษาตอนปลาย. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐกานต์ ผ่องลำเจียก. (2546). ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาฝึกหัดครูชั้นปีที่ 4 วิชาเอกภาษาอังกฤษในสถาบันราชภัฏ เขตภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนภาษาอังกฤษ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มารุต พัฒผล. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างการรู้คิดและความสุขในการเรียนรู้ (ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
สุนีตา โฆษิตชัยวัฒน์. (2555). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะการพูดภาษาอังกฤษ ความรู้ด้านกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ และทักษะสังคม สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานจังหวัดกาญจนบุรี. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดกาญจนบุรี 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564). สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563, จาก https://ww2.kanchanaburi.go.th/files/com_news_devpro/2018-07_b9ba30515e86305.pdf.
Beauchamp, George A. (1981). The Curriculum of Elementary School. Boston: Allyn and acon Lnc.
Graves, K. (2000). Designing language courses: A guide for teacher. Boston: Heinle & Heinle Publisher.
Nunan, D. (1999). Second language teaching and learning. Boston: Heinle & Heinle Publisher.
Richards, J., and Rodgers, T. (2001). Approaches and methods in language teaching (2nd Ed.). Cambridge: Cambridge University Press.
Saylor, Galen J., and William A Alexander. (1974). Planing Curriculum For Schools.New York: Holt, Rinehart and Winston Inc.