การศึกษาเรื่องอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานต่อการธำรงรักษาบุคลากรของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง

Main Article Content

อนุสร ใจฉวะ
สุมาลี รามนัฏ
ธัญนันท์ บุญอยู่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับของสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และการธำรงรักษาบุคลากรของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง 2) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานและการธำรงรักษาบุคลากรของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง และ 3) ความพึงพอใจในงานในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างสภาพแวดล้อมในการงานและการธำรงรักษาบุคลากรของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม โดยการเก็บข้อมูลจากพนักงานของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง จำนวนทั้งสิ้น 100 คน ตามแนวคิดของ มนตรี พิริยะกุล, (2553) สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ ตัวแบบสมการโครงสร้าง (SEM) โดยใช้โปรแกรม Smart PLS 3.0 ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับของสภาพแวดล้อมในการทำงานความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอใจในงาน และการธำรงรักษาบุคลากร โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57, 3.85, 3.71 และ 3.54 ตามลำดับ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .643, .684, .731 และ .812 ตามลำดับ 2) ความผูกพันต่อองค์กรในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยงสภาพแวดล้อมในการทำงานสู่การธำรงรักษาบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.086 ขอบเขตบนเท่ากับ 0.306 และ 3) ความพึงพอใจในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่เชื่อมโยง สภาพแวดล้อมในการทำงานสู่การธำรงรักษาบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์ขอบเขตล่างเท่ากับ 0.242 ขอบเขตบนท่ากับ 0.539 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความผูกพันต่อองค์กรและความพึงพอใจในงานเป็นตัวแปรส่งผ่านที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานสู่การธำรงรักษาบุคลากรของบริษัทอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งหนึ่ง ในจังหวัดระยอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. (2560). การแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนแรงงาน พ.ศ.2560-2564. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th /498391d8154f6237d5db6b423d5f1b85.pdf.
ณัฐชา จันทวงษ์. (2559). การศึกษาความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การ: กรณีศึกษา พนักงานธนาคาร ABC ฝ่ายอนุมัติสินเชื่อลูกค้า ผู้ประกอบการและสินเชื่อที่อยู่อาศัย สาขาแจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ), มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ณัฐพล ศรีธาดาวุฒิ. (2556). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการทำงานกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษา บริษัทสาธิตพลาสติก วิศวกรรม จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
เบญจมาศ ทองเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรให้คงอยู่ในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัท ไทย พีพี-อาร์ จำกัด และบริษัทในเครือ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการพัฒนาองค์กรและการจัดการสมรรถนะของมนุษย์), มหาวิทยาลัยบูรพา.
มนตรี พิริยะกุล. (2553). ตัวแบบเส้นทางกำลังสองน้อยที่บางส่วน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศศิภา ฟูปลื้ม. (2558). การธำรงรักษานักการตลาดมืออาชีพของบริษัทเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์พัฒนาแรงงานและสวัสดิการมหาบัณฑิต (สังคมสงเคราะห์ศาสตร์), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุดารัตน์ พงษ์พิทักษ์. (2559). บีไอโอกับพัฒนาการอุตสาหกรรมยานยนต์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564, จาก http://www.faq108.co.th/common/topic/auto_industry.php.
เสาวคนธ์ แสนธรรมพล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษาพยาบาลวิชาชีพในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
อรสุธี สุทธิเสริม. (2557). ปัจจัยลักษณะการปฏิบัติงาน แนวทางในการธำรงรักษาพนักงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่. งานนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ), วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Bezler, A., Braukmann, F., West, S. M., Duplan, A., Conconi, R., Schütz, F., G"o" ̈nczy, P., Piano, F., Gunsalus, K., Miska, E. A., & Keller, L. (2019). Tissue-and sex-specific small RNAomes reveal sex differences in response to the environment. PLoS genetics, 15(2), 1-15.
Gorap, S. I., Haerani, S., & Hakim, W. (2019). Pengaruh Budaya Organisasi, Komitmen Organisasi, Dan Kompensasi Terhadap Kinerja Pegawai Melalui Kepuasan Kerja Sebagai Variabel Intervening (Studi Pada Dinas Kesehatan Daerah Kota Tomohon). Hasanuddin Journal of Applied Business and Entrepreneurship, 2(2), 100-114.
Msengeti, D. M., & Obwogi, J. (2015). Effects of pay and work environment on employee retention: A study of hotel industry in Mombasa County. International Journal of Scientific and Research Publications, 5(4), 1-10.
Sisay, W. (2017). Effect of Job Satisfaction on Organizational Commitment: Comparative Study on Academic and Supportive Staff of Wollega University, Nekemte Campus. European Journal of Business and Management, 9(16), 25-30.