แนวทางการจัดการความรู้ต้นแบบการเป็นผู้นำจิตอาสา กรณีศึกษา เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

Main Article Content

อนัญพรรณ ไชยพิริยะกุล
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดการความรู้ โดยใช้ SECI Model สร้างต้นแบบการเป็นผู้นำจิตอาสาให้เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาจากกระบวนการจัดการความรู้ที่มีข้อมูลพื้นฐานของบุคคล  องค์กร บทความ แนวคิดทฤษฎี รายงานการวิจัย และกรณีศึกษาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การจัดการความรู้ 4 รูปแบบคือ 1) การแลกเปลี่ยนความรู้ (Socialization) ได้หัวข้อความรู้แนวทางการสร้างต้นแบบการเป็นผู้นำจิตอาสา ที่ถูกแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกชุมชน ผู้นำชุมชนและหัวหน้างานวิจัย 2) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มได้ตารางความรู้แนวทางการสร้างการเป็นผู้นำจิตอาสาใหม่เป็นหัวข้อความรู้หลักและหัวข้อความรู้ย่อย 3) การรวบรวมความรู้ (Combination) ได้หัวข้อความรู้ด้านแนวทางการสร้างต้นแบบการเป็นผู้นำจิตอาสา ที่เหมาะสม จากการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC)ที่ถูกแสดงความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ 4) การผนึกความรู้ (Internalization) ได้คู่มือหรือหลักสูตรความรู้ที่จะใช้ในการให้คำปรึกษาและแนะนำ สำหรับการสร้างต้นแบบการเป็นผู้นำจิตอาสา ที่มีการประเมินผลความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงรักษ์ ศุภกิจเจริญ, ชดช้อย วัฒนะ, ปริญญา แร่ทอง และเสาวลักษณ์ ค้าของ. (2560). ประสบการณ์การเรียนรู้ปัจจัย และแรงจูงใจของนักศึกษาในการเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2, 301-315.
จำเรียง จันทรประภา. (2561). Body of Knowledge-Knowledge-Knowledge Management. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564, จาก http://www.royin.go.th/?Knowledges=body-ofknowledge-knowledgeknowledge-management-km.
ทรูปลูกปัญญา. (2562). จิตอาสาพัฒนาเด็กไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม, 2564, จาก www.trueplookpanya.com.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2563). จิตอาสา. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2564, จากdhttp://www.curriculumandlearning.com/upload/Academicpapers/
Andersen, A. (2005). Knowledge management news. Retrieved June 10, 2021, from http://www.kmnews.com/index.php?page=themopportunity
Awad, E. M., & Ghaziri, H. M. (2004). Knowledge management. New Jersey: Pearson
Education.
Buckley,R., & Caple, J. (2009). The Theory and Practice of Training (6th ed). Kogan Page Publishers. Retrieved July 6, 2021, from
http://www.imd.inder.cu/adjuntos/article/628/The%20/Theory%20and%20 Practice%20of%20Training.pdf
Pengmol, T. (2018). Cultural Knowledge Management for Sustainable Tourism. Journal of Local Governance and Innovation, 2(3), 93-106.
Nonaka, I. and Takeuchi, H. (2000). Classic work: Theory of organizational knowledge creation. New York: MIT Press.