การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42

Main Article Content

อุเทน แป้งนวลดี
ทินกร พูลพุฒ
รวงทอง ถาพันธุ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารสถานศึกษาและการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับ การบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี 4) เพื่อสร้างสมการทำนายการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถทำนายประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารสถานศึกษาและการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) เปรียบเทียบการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ และตำแหน่ง โดยภาพรวม พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสัมพันธ์ของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) สมการทำนาย การบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถทำนายการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี พบว่า การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับในการบริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จังหวัดอุทัยธานี ทั้งหมด 5 ด้าน สามารถร่วมกันพยากรณ์กับตัวแปรเกณฑ์ได้จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรม ด้านความมีเหตุผล ด้านความรู้ ด้านความมีภูมิคุ้มกัน และด้านความพอประมาณ โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์เท่ากับ ร้อยละ 33.20 (Adjusted R Square = .332) โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล จิตบุญ.(2543). กระบวนวางแผนดำเนินงานตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ ศศ.บ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นทบุรี
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2557). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช 2493 - 2546 ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร :สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ .
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจักษ์ นาหนองตูม. (2543). ศึกษาการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริของโรงเรียนแกนนำ
โครงการเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปรียานุช พิบูลสราวุธ. ( 2557). การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา . กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ประสานงานกลางการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.
พัฒนาภรณ์ ฉัตรวิโรจน์. (2555). บทบาทของครู ในการส่งเสริมความรู้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา) ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สมศักดิ์ ลาดี. (2555). การศึกษาการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. (การบริหารการศึกษา) ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อภิชัย พันธเสน. ( 2550). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.