รามเกียรติ์: ภาพสะท้อนโลกทัศน์ทางการเมืองไทยและสังคมในอุดมคติ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

Main Article Content

ชวัลนันท์ จันทร์ทรัพย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษารามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 เพื่อทราบถึงโลกทัศน์ทางการเมืองไทย วรรณกรรมเรื่องนี้รับอิทธิพลจากฉบับก่อนหน้า จึงไม่สามารถตีความโดยการนำเหตุการณ์จริงมาเทียบเคียงได้อย่างแนบสนิท อย่างไรก็ตามเนื้อหาบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนจากฉบับก่อนหน้า ในส่วนนี้สามารถนำบริบทสังคมมาเทียบเคียง เพื่อทำความเข้าใจโลกทัศน์ของกวี ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการคือการที่รัชกาลที่ 1 ใช้พระนามในฐานะผู้พระราชนิพนธ์ มากไปกว่านั้นเวลาเป็นสิ่งสำคัญสำหรับรัตนโกสินทร์ หมายความรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 มีความสำคัญและมีเป้าหมายทางการเมืองต้นรัตนโกสินทร์สับสนจากการเปลี่ยนขั้วอำนาจแบบฉับพลัน ระเบียบใหม่จึงเป็นที่ต้องการ ดังนั้นรามเกียรติ์ฉบับรัชกาลที่ 1 จึงถูกประพันธ์ขึ้น กวีสร้างโลกทัศน์แบบไทยเรื่องลำดับชั้นที่กำหนดทุกสรรพสิ่ง เชื่อว่าจักรวาลอยู่บนความไม่เสมอภาค ภายใต้กฎแห่งบุญกรรมและลิขิตก่อให้เกิดโครงสร้างทางสังคมแบบไทย เน้นย้ำหน้าที่และสถานะของมนุษย์ กวีสร้างโลกทัศน์ทางการเมืองที่เป็นประเด็นรองลงมา กล่าวคือเป็นส่วนหนึ่งของโลกทัศน์ ยกตัวอย่าง การเตรียมเป็นกษัตริย์ที่ดี การเป็นขุนนางที่ดี เป็นต้น โดยสรุปกวีสร้างโลกทัศน์แบบไทยที่มองโลกบนความไม่เสมอภาครวมถึงวัฒนธรรมว่าด้วยความอาย เป็นโลกทัศน์ที่ฝังรากลึก คนจำนวนหนึ่งมองโลกบนพื้นฐานแห่งความไม่เสมอภาค การรักษาหน้าเป็นสิ่งสำคัญมากกว่าความถูกต้อง ก่อให้เกิดสังคมมือถือสากปากถือศีล คำถามที่น่าสนใจคือประชาธิปไตยที่เชื่อว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเท่าเทียมจะเติบโตได้ดีแค่ไหนอย่างไร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตวิทย์ ดวงสร้อยทอง. (2521). วรรณกรรมประวัติศาสตร์ เล่มที่ 2. โครงการบริการวิชาการฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
กรมศิลปากร. (2514). ลิลิตยวนพ่าย. พระนคร: ศิลปาบรรณาคาร.
กรรณิการ์ สาตรปรุง. (2528). ราชาธิราช สามก๊กและไซ่ฮั่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เจตนา นาควัชระ. (2521). ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งวรรณคดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์พิฆเนศ.
ซัตเทอร์แลนด์ จอห์น. (2561). วรรณกรรม: ประวัติศาสตร์เรื่องเล่าแห่งจินตนาการ. กรุงเทพฯ: บุ๊คสเคป.
ทักษ์ เฉลิมเตียรณ. (2558). อ่านจนแตก วรรณกรรม ความทันสมัยและความเป็นไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่าน
บุญเหลือ เทพยสุวรรณ. (2529). แว่นวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อ่านไทย.
ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2518). คนเจ้าบทเจ้ากลอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจริญธรรม.
เปลื้อง ณ.นคร. (2517). ประวัติวรรณคดีไทยสำหรับนักศึกษา. พระนคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
พระคลัง (หน). (2513). สามก๊ก. พระนคร: แพร่พิทยา.
พลศักดิ์ จิรไกรศิริ.(2522). วรรณกรรมการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กราฟคอาร์ต.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพมหานครอักษรเจริญทัศน์ จำกัด.
ศันสนีย์ วีระศิลป์ชัย.(2554). “สี่แผ่นดิน” กับเรื่องจริงในราชสำนักสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2523). ความคิดทางการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บรรณกิจ.
สมบัติ จันทรวงศ์. (2547). บทพิจารณ์ว่าด้วยวรรณกรรมการเมืองและประวัติศาสตร์. กรุงเทพ:โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สมพร มันตะสูตร. (2524). วรรณกรรมสังคมและการเมือง. กรุงเทพฯ: โอเดียน สโตร์.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2523). วรรณคดีวิจารณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิทธา พินิจภูวดล. (2515). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เสฐียรโกเศศ (พระยาอนุมานราชธน). (2515). อุปกรณ์รามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
Brian Godawa. (2002). Hollywood Worldviews. Illinois: InterVasity Press.
George Anastaplo. (1983). The Artist as Thinker from Shakespeare to JOYCE. Ohio: Swallow Press.
Lajos Egri. (1960). The Art of Dramatic Writing: Its Basics in the Creative Interpretation of Human Motives. New York: Simon & Schuster.
Mario J. Valdes. (1981). A Functional View of Critics in What is Criticism. Bloomington: Indiana University Press.
M. Monier-Wiliams. (1960). Indian Epic Poetry, London: Trubner and Co. Ltd., 1892.Simon & Schuster.
Roderick Hindery. (1976). Hindu Ethics in The Ramayana. Journal of Religious Ethics, Vol. 4, No. 2.
Susan Sontag. (1969). Against Interpretation and Other Essays. New York: Farrar, Straus and Giroux.
Terry Eagleton. (1983). Literary Theory. Oxford: Blackwell Publisher.
Wilfred L. Guerin, Earle Labor, Lee Morgan, Jeann C. Reesman and John R.Willington. (2005). A Handbook of Critical Approach to Literature. Oxford: Oxford University.