ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนัชชนม์ แจ้งขำ
ปณัฐดา ป้อมบ้านมุง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้าในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.81 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมาเคยซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ใช้เวลาในการซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันนอกบ้านประมาณ 3-5 ชั่วโมง ประเภทของผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bar ที่เลือกซื้อ คือ Genie antiabac bra all color 1 SET 3 PCS จำนวนในการซื้ออยู่ที่ 1-5 ชิ้น ในราคาไม่เกิน 500 บาท ราคาของ Genie bar ซื้อผ่านช่องทางออนไลน์อยู่ที่ 501 - 1,000 บาท 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ชุดชั้นในสตรี Genie bra ผ่านช่องทางงานแสดงจุดเด่นสินค้า ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา และด้านการส่งเสริมทางการตลาด อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2559). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับบริหารและวิจัย. (พิมพ์ครั้งที 16). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฏฐณิชา ขุนศรี และบุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าขายส่ง: การศึกษาเปรียบเทียบห้างขายส่งขนาดใหญ่ 2 ห้างในกรุงเทพมหานคร.วารสารบริหารธุรกิจนิด้า, 24, 68-90.
พิทักษ์ ชูมงคล และ รัชดาวัลย์ มหาจิตรภิรมย์. (2562). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการซื้อ พฤติกรรมการซื้อและความภักดีที่มีต่อเสื้อชั้นในสตรียี่ห้อ ซาบีน่า ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร.งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต,818-826.
มัลลิกา บุนนาค. (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). การสื่อสารทางการตลาด. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cochran, W. G. (1977). Sampling Techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.
Indumathi.N and D. Ayub Khan Dawood. (2016). Impact of Marketing Mix on Consumer Buying Behavior in Organic Product. International Journal of Research in Finance and Marketing, 6(10), 43-54.
Lamey, L.; Deleersnyder, B.; Steenkamp, J. B. E. & Dekimpe, M. G. (2012). The effect of business cycle fluctuations on private-label share: What has marketing conduct got to do with it.Journal of Marketing, 76(1), 1-19.
Lisa, M. (2013). Sales promotion in Asia: Successful strategies for Singapore and Malaysia.
Asia Pacific. Journal of Marketing and Logistics. 25(1), 48-69.
Weng Marc Lim et al. (2014). Consumers ‘Perceived Value and Willingness to Purchase Organic Food. Journal of Global Marketing, Volume 27, Issue 5, pages 298-307.