การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

Main Article Content

พิรุฬห์พร แสนแพง
พงศ์เทพ จิระโร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเพื่อทดลองใช้และประเมินคุณภาพรูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดำเนินการสำรวจสภาพความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ PLC จากครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 819 คน แล้วนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบองค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน และนำรูปแบบไปทดลองใช้กับ กศน. 3 แห่งที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบสังเกต และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า รูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLCของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีลักษณะเป็นแบบแผนภูมิโครงสร้างกระบวนการดำเนินการพัฒนาตนเอง ด้วยกระบวนการ PLC ประกอบด้วย ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต มีองค์ประกอบของกระบวนการ 5 องค์ประกอบ คือ 1) การสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน 2) การมีเป้าหมายร่วมกันคือการเรียนรู้ของนักเรียน 3) การร่วมมือรวมพลัง 4) การรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาดูงาน และ 5) การสนทนาที่มุ่งสะท้อนการปฏิบัติงาน ในแต่ละขั้นตอนดำเนินการด้วยวิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ผลการทดลองใช้พบว่า ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง ร่วมมือในการทำงานกันมากขึ้น มีการกระตุ้นให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบสามารถนำไปใช้ได้จริงใน กศน. ตามเกณฑ์การประเมินด้านประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงลึกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด.(2557).รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา. (2559). หน่วยที่ 6 ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการศึกษา:ชุดวิชา 23728 นวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ. (2551). นศ.กศน.จะมีคุณภาพได้ ครูต้องมีคุณภาพ-สอนตรงวิชา. สืบค้นเมื่อ 20มกราคม 2563,จาก http://www.teenpath.net.
DuFour, R. (2004). What is a professional learning community. Educational Leadership, 61(8), 6–11 .
Seng,P.M.(1990) The Fifth Discipline:The Art and Practice of the Learning Community. Newyork:Doubleday.
Sergiovanni,T.(1994). Building community in schools. San Francisco, CA: Jossey Bass