การสังเคราะห์งานวิจัยผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน

Main Article Content

รัฐพงศ์ สีแสด
สมพงษ์ ปั้นหุ่น
สุรีพร อนุศาสนนันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน 2)เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอนในห้อง ด้านแรงจูงใจในการอ่าน และด้านการรับรู้การอ่านส่งผ่านความยึดมั่นผูกพันในการอ่านไปยังทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน และตรวจสอบความตรงของโมเดล งานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์เป็นงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์เผยแพร่ระหว่าง ปี พ.ศ.2545 – 2561 จาก 21 มหาวิทยาลัย จำนวน 57 เล่ม โดยเป็นงานวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ 7 เล่ม และงานวิจัยเชิงทดลอง 50 เล่ม ผลการวิจัยประกอบด้วยค่าดัชนีมาตรฐาน 225 ค่า ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ค่าขนาดอิทธิพลของการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมีค่าเฉลี่ยของดัชนีมาตรฐานมีค่าเท่ากับ .447 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ .282 ผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากงานวิจัยทั้ง 57 เล่ม มีความแตกต่างกันตามลักษณะของงานวิจัย 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ค่าดัชนีมาตรฐานแบบพหุระดับผลการวิเคราะห์พบว่าค่าความแปรปรวนของดัชนีมาตรฐานผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเกิดจากความแปรปรวนระหว่างเล่ม โดยมีองค์ประกอบความแปรปรวน เท่ากับ .177 ส่วนภายในเล่มมีองค์ประกอบความแปรปรวนเท่ากับ .007 3) ผลการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีมาก (2 = 54.77, df = 47, p = .20, 2/df = 1.165, GFI = 1.00, AGFI = 1.00, NFI = 1.00, NNFI = 1.00, RMSEA = .007, SRMR = .019) โดยตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของผลการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ร้อยละ 41

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลกร ชุ่มกลาง. (2562). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลตอ่ผลสมัฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน: การวิเคราะห์เอ็มเอเอสอีเอ็ม. ดุษฎีนิพนธ์
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลีสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
. (2542). การวิเคราะห์อภิมาน META-ANALYSIS. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิติบดี ศุขเจริญ และวัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล. (2557). การวิเคราะห์อภิมานและการสังเคราะห์อภิมาน: Meta-Analysis and Meta-Synthesis. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พรทิพย์ พันตา และสุชาดา บวรกิติวงศ์. (2555). การสังเคราะห์งานวิจัยนวัตกรรมการเรียนการสอน คณติศาสตร์: การวิเคราะห์อภิมานและการวิเคราะห์กลุ่มแฝง. สืบค้นเมื่อ 2 เมษานา 2559,
จาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V71/v71d0131.pdf.
วิสาข์ จัติวัตร์. (2541). การสอนอ่านภาษาอังกฤษ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2532). การสอนทักษะทางภาษาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.
สําลี รักสุทธี. (2553). การจัดทำสื่อนวัตกรรมและแผนประกอบสื่อนวัตกรรม. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
Cheung, M.W.L. & Chan, W. (2005). Meta-analytic structural equation modeling: a two-stage approach. Psychological Methods.
Cheung, M.W.L. (2009). Meta – analysis: A Structural Equation Modeling Perspective. Paper presented at the Association for Psychological Science 21st Annual Convention, San
Francisco, CA, USA.
Glass, G. V., McGaw, B., and Smith, M. L. (1981). Meta – analysis in social research. Beverly Hills: Sage Publication.
Harwell Joan M. (2001). Complete with Learning Disabilities Handbook. 2nd ed. United States of America.
James Pett. (1982). Reading as ESL: Skill at the University. English Teaching Forum.