การประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

Main Article Content

วิโรชน์ หมื่นเทพ
ณัฐพงศ์ วิชัยดิษฐ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและประเมินความต้องการจำเป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 372 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ประเมินความต้องการจำเป็นและจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้วิธี PNIแบบปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างเชิงคุณภาพ ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ จำนวน 12 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.สภาพทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ทักษะที่มีมากที่สุด ได้แก่ ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม รองลงมาได้แก่ ด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมและด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ตามลำดับ 2.ความต้องการจำเป็นทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ด้านที่มีค่ามากที่สุดคือ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา รองลงมาได้แก่ ด้านการคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมและด้านการสื่อสารและมีส่วนร่วม ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา สร้อยสิงห์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาวิทยาลัยดุสิตธานี. งานวิจัยคณะอุตสาหกรรมบริการ. วิทยาลัยดุสิตธานี.
ดาวเรือง เซี่ยงหลิวและไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2561). การประเมินความต้องการจําเป็นเพื่อการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(1) : 215-224.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSSและAMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.
ยุพาภรณ์ เรืองสวัสดิ์. (2018). ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://classroommanagement011.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). ระบบเผยแพร่สารสนเทศอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก http://www.info.mua.go.th/info/.
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562, จากhttp://www.royin.go.th
อนุชา โสมาบุตร. (2557). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม สำหรับการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฏาคม 2562, จาก https://teacherweekly.wordpress.com.
British Council. (2019). ทักษะอะไรบ้างที่เด็กในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมี. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.britishcouncil.or.th/english/tips/what-skills-do-children-need-in-the-21-century.
Great Schools Partnership. (2016). 21ST CENTURY SKILLS. Retrieved June 15, 2019 , from https://www.edglossary.org/21st-century-skills/.
Knowing Technologies. (2015). WHY TECHNOLOGY IS ESSENTIAL TO A 21ST CENTURY EDUCATION?. Retrieved June 20, 2019, from https://knowingtechnologies.com/21st-
century-education-technology/.
Pavón, Ana S. & Nicolaou, A. (2017). Online Intercultural Exchanges Through DigitalStorytelling. Retrieved June 20, 2019, from https://www.researchgate.net/figure/Framework-for-21st-Century-Learning-Source-Partnership-for-21st-Century-Skills-2007_fig1_322783560
TruePlookpanya. (2018). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (The Twenty-First Century Skills). สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/66054/-teaartedu-teaart-teaarttea.
UK Essays. (2018). Importance of technology. Retrieved June 23, 2019, from https://www.ukessays.com/essays/theology/importance-of-technology.php
Wikipedia. (2017). 21st century skills. Retrieved June 15, 2019 , from https://en.wikipedia.org/ wiki/21st_century_skills
Yamane, T. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.