อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรกำกับอิทธิพลการรับรู้ การสนับสนุนขององค์การสู่ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร สำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุปราณี ภูวงษ์
ธัญนันท์ บุญอยู่
ภาริน ธนนทวีกุล
สุชารัตน์ บุญอยู่
น้ำผึ้ง ปัถวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของการรับรู้การสนับสนุนขององค์การแรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรกำกับอิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนขององค์การสู่ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจกับประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร จำนวน 97 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีการตอบกลับครบทุกฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม PLS Graph 3.0 ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ระดับการรับรู้การสนับสนุนขององค์การ แรงจูงใจในการทำงาน และประสิทธิภาพการทำงานมีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนผลการวิเคราะห์อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรกำกับอิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนขององค์การสู่ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร พบว่า แรงจูงใจในการทำงานเป็นตัวแปรกำกับที่มาเชื่อมโยงสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การกับประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร ส่วนการรับรู้การสนับสนุนขององค์การไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เมื่อมีปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานเข้ามากำกับสัมประสิทธิ์เส้นทางระหว่างการรับรู้การสนับสนุนขององค์การสู่ประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของความไว้วางใจและการแบ่งปันความรู้ในฐานะปัจจัยคั่นกลางแบบอนุกรมที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาสู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานวิสาหกิจขนาดย่อมของอุตสาหกรรมผลิตเซรามิกในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสมาคมนักวิจัย, 24(1), 175-186.
นิชพงศ์ ศรีมกุฎพันธุ์. (2556). การศึกษาอิทธิพลการรับรู้บรรยากาศและการรับรู้การสนับสนุนขององค์การที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานของพนักงานเทศบาลนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์กร. กรุงเทพมหานคร: วี พริ้นท.
นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง และอำภาศรี พ่อค้า. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5 (1), 63-70.
มุทิกา สุกรณ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การแรงจูงใจภายในในการปฏิบัติงานและประสิทธิผลองค์การกรณีศึกษาการประปานครหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศศิมัณฑ์ จันทวงศ์. (2557). โครงการประชาสัมพันธ์การปฏิรูประบบราชการ: ปัญหาของการบริหารระบบราชการไทย. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562, จาก http://tdc.thailis.or.th/tdc/basic.php.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). ผลการประเมินการปฏิบัติราชการของ สำนักงานเขตหนองแขมกรุงเทพมหานคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2560. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน, 2562, จาก http://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/15330.
Chin, W. W. (2001). PLS graph user’ s guide version 3.0. Retrieved April 25, 2019, from http://www.Pubinfo.vcu.edu/carma/documents.
Eisenberger, R., Huntington, R., Hutchison, S. & Sowa, D. (1986). Perceived Organizational Support. Journal of Applied Psychology, 71(3), 500-507.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational administration: Theory, research and Practice. (8th ed.). New York: McGraw-Hill.
Lamastro, V. (2002). Commitment and perceived organizational support. Retrieved July 11, 2019, from http://nationalforum.Com/13lama1.
Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.
Miao, R., & Kim, H. G. (2010). Perceived organizational support, job satisfaction and employee performance: A Chinese empirical study. Journal Service Science & Management, 3, 257-264.
Saltson, E., & Nsiah, S. (2015). The mediating and moderating effect of motivation in the relationship between perceived organizational support and employee job performance. International Journal of Economics, Commerce and Management, 3(7), 654–667.
Wayne, J. H., Musisca, N., & Fleeson, W. (2004). Considering the role of personality in the work–family experience: Relationships of the Big Five to work–family conflict and enrichment. Journal of Vocational Behavior, 64, 108–130.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.